อินสตาแกรม (Instagram) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า IG นั้นถือเป็นหนึ่งใน Social Media ยอดนิยมที่มีผู้ใช้รายเดือนทั่วโลกรวมกันมากกว่า 1,000 ล้าน Accounts และมีผู้ใช้รายวันมากกว่า 500 ล้านคน และในประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้ามีผู้ใช้อินสตาแกรมมากเกือบ 12 ล้าน Accounts นับเป็นสัดส่วนเกือบ 17% ของประชากรไทย
ในเมื่อมีคนใช้งานอินสตาแกรมเยอะขนาดนี้ แน่นอนว่าแบรนด์สินค้าและบริการต่างๆก็ต้องพึ่งช่องทางนี้ในการทำการตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าแน่นอน โดยในปี 2019 ที่ผ่านมา ในอินสตาแกรมมีจำนวนโฆษณาลงสูงกว่า 1 ล้านชิ้นเลยทีเดียว
หลายๆคนอาจจะเคยลองทำการตลาดผ่านอินสตาแกรมแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าทำถูกไหม การตลาดที่เราทำไปนั้นทำงานได้ผลดีรึเปล่า เราจะวัดผลยังไงดีนะ ซึ่งการที่จะรู้ว่าผลงานที่เราทำไปดีหรือไม่นั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงตัววัดผลบ่งชี้ หรือ เมทริกซ์ (Metrics) ที่เราต้องดูเวลาลงโฆษณาในอินสตาแกรมนั้นมีอะไรบ้าง
วันนี้ UNBOX BKK จะมาอธิบายถึงตัววัดผลบ่งชี้ที่หลักๆ ที่ผู้สนใจทำการตลาดผ่าน Instagram ไม่รู้ไม่ได้ ทีนี้ล่ะ เราจะได้รู้กันซักทีว่าที่เราลงทุนทำการตลาดแบบต่างๆ ทั้งปั้นคอนเทนต์ ทั้งซื้อโฆษณา ทั้งลงไอจีสตอรี่ (IG stories) ทุกอย่างที่เราทำไปนั้น ได้ผลคุ้มค่าจริงหรือเปล่า
ซึ่งตัววัดผลบ่งชี้ หรือหลักๆ หรือ Metrics ที่เราต้องรู้นั้นมีแค่ 5 ตัวเท่านั้นเองค่ะ
1. Follower Count (จำนวนผู้ติดตาม)
ตัววัดผลนี้บอกอะไร? : สิ่งที่เรากำลังทำถูกทางหรือผิดทาง?
สำหรับอินสตาแกรมแล้วสิ่งแรกที่ทุกคนให้ความสนใจแน่นอนว่าคือ จำนวนผู้ติดตาม หรือที่เรียกกันง่ายๆว่ายอดคนฟอล ซึ่งจำนวนผู้ติดตาม (Followers) นั้นบ่งบอกถึงจำนวนผู้คนที่สนใจคอนเทนต์ในแบบของเราและอยากรับชมคอนเทนต์ของเราไปเรื่อยๆ
ซึ่งจำนวน Followers นั้นจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับแนวทางในการทำคอนเทนต์ของเราเป็นหลัก ถ้าคอนเทนต์ปัง ถูกจริตคนดู แถมมีความสม่ำเสมอ ไม่ว่าเลื่อนไปดูอันไหนก็น่าสนใจ แน่นอนว่าก็จะต้องได้ยอดฟอลเยอะแน่นอน
ดังนั้นเวลาที่เราได้ลง Content บางอย่างลงไป อย่าลืมวัดผลด้วยนะคะ บางทีการลง Content ปังๆ หรือที่ภาษาการตลาดเรียกว่าฮีโร่คอนเทนต์ (Hero Content) แล้วเสริมด้วยการลองยิงโฆษณา คุณอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวน Followers อย่างชัดเจนก็ได้ เพราะการลงโฆษณานั้นหมายความว่าคุณจะมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะไม่รู้จักคุณมาก่อน และแน่นอนว่าถ้า Content ดี คนเห็นเยอะ รับรองว่ายอดฟอลก็ต้องเยอะตามแน่นอนค่ะ
[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/05/1_2.jpg” alt=”Instagram Metrics” title_text=”1_2″ _builder_version=”4.4.6″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.4.6″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_text_color=”#666666″ text_font_size=”22px” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_text_color=”#333399″ header_2_font_size=”29px”]
2. Impressions (จำนวนการแสดงผล)
ตัววัดผลนี้บอกอะไร? : Content ในไอจีของเรามีคนเห็นกี่ครั้งกันนะ?
นอกเหนือจากยอดผู้ติดตามหรือ Followers ที่เราได้อธิบายมาข้างต้นแล้วจำนวนการแสดงผล หรือ Impression ก็ถือเป็นหนึ่งในตัววัดผลหลักของ Instagram ซึ่งเมทริกซ์นี้ทำหน้าที่บอกเราว่า โพสต์ของเรานั้นมีคนเห็นจำนวนทั้งหมดกี่ครั้งกันแน่
จำนวนการแสดงผล หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าจำนวนอิม (ย่อมาจาก Impression) นั้นเป็นขั้นแรกของ Marketing Funnel สำหรับอินสตาแกรม เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้การรับรู้ หรือ Awareness ทำให้คนได้รู้จักเกี่ยวกับแบรนด์หรือธุรกิจของเรามากขึ้น โดยคนเหล่านี้อาจจะไม่ได้กดหัวใจ กดติดตาม หรือทำกิจกรรมใดใดกับไอจีของเราแต่อย่างน้อยพวกเขาก็เห็นและรู้จักเราแล้ว ดังนั้นถ้าหากจำนวนการแสดงผลหรือเลขของ Impression มากขึ้นก็แปลว่าแนวทางในการทำ Content ของเรามาถูกทาง ได้แสดงผลให้กลุ่มเป้าหมายได้รับชมมากขึ้นค่ะ
3. Reach (จำนวนบุคคลที่เข้าถึง)
ตัววัดผลนี้บอกอะไร? : คอนเทนต์ในไอจีของเรามีคนเห็นกี่คนกันนะ?
สำหรับคนที่เริ่มทำการตลาดในอินสตาแกรมใหม่ๆ อาจจะสงสัยว่าจำนวนการแสดงผล (Impression) กับจำนวนบุคคลที่เข้าถึง (Reach) นั้นเหมือนหรือต่างกันยังไง เพราะเจ้าสองตัวนี้มันดูคล้ายคลึงกันเหลิอเกิน
ตัววัดผลสองตัวนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกันก็จริง แต่ความต่างหลักๆก็คือ Reach นั้นเป็นตัววัดผลว่า มีคนเห็นคอนเทนต์ของคุณกี่คน โดยแสดงผลตามจริงเป็นรายบุคคล (Actual Views) ในขณะที่ Impression วัดผลว่าคอนเทนต์ของคุณนั้นมีการแสดงผลกี่ครั้ง โดยนับตามครั้ง ไม่ใช่ตามคน
ดังนั้นถ้าหากเห็นว่า Reach ต่ำกว่า Impressions มากๆ ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะ Reach นั้นนับตามจำนวนคนจริง เช่นสำหรับในหน้าโปรไฟล์ ก็จะหมายถึง จำนวนของคนที่เห็นโพสต์ของคุณและกดเข้ามาดูหน้าโปรไฟล์ของคุณ โดยหนึ่งคนจะนับเพียงแค่หนึ่งครั้ง ถึงแม้ว่าคนคนนั้นจะกดเข้ามาดูถึง 10 ครั้งก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่นคุณ A กดเข้ามาดู Instagram Profile 10 ครั้งในวันนี้ Reach ก็ยังจะนับเป็น 1 เท่านั้น ในขณะที่ Impression จะนับเป็น 10 Impressions นั้นเอง
[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/05/2_2.jpg” alt=”Viral content marketing” title_text=”2_2″ _builder_version=”4.4.6″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.4.6″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_text_color=”#666666″ text_font_size=”22px” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_text_color=”#333399″ header_2_font_size=”29px”]
4. Instagram Stories Metrics (ตัววัดผลสำหรับอินสตาแกรมสตอรี่)
ตัววัดผลนี้บอกอะไร? : ไอจีของเราได้รับความนิยมมากขนาดไหนกันแน่
ตอนนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักฟีเจอร์ Instagram Story ซึ่งได้รับความนิยมแบบสุดๆ มีคนเข้ามาโพสสตอรี่ในหนึ่งวันมากกว่า 400 ล้านแอคเคาท์ ซึ่งนอกจากจะเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมของผู้ใช้แล้ว มันยังเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เชิงธุรกิจกับนักการตลาดอีกด้วย และเจ้าสตอรี่นี้ก็ประกอบไปด้วยเครื่องมือการวัดผลที่หลากหลาย เช่น Story Replies, Story Taps Back, Story Forward และ Impressions ซึ่งเราจะเอามาพูดถึงกันในคราวถัดไป ส่วนวันนี้ขอเน้นไปที่ตัวหลัก นั้นก็คือ Instagram Story View ก่อน ซึ่งตัววัดผลนี้ก็จะช่วยบอกว่ามีคนสนใจในการดู Story หรือฟังเรื่องราวจากแบรนด์ของคุณมากขนาดไหน ยิ่งมีคนดูมากแสดงว่าคุณนั้นมีคอนเทนต์ที่น่าสนใจเป็นประจำและมีคนติดตามมากนั้นเอง
5. Click-Through-Rate (อัตราการคลิ๊กของลิงค์ที่เราลงไว้)
สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อโฆษณา ต้องบอกก่อนเลยว่า Link บนหน้าโปรไฟล์ หรือ Bio Link นั้นเป็นจุดเดียวที่สามารถคลิกได้ซึ่งเราสามารถจะแปะเว็ปไซต์ได้หนึ่งเว็บเพื่อช่วยส่งกลุ่มเป้าหมายของเราไปยังเว็บไซต์ (Landing Page) นอกอินสตาแกรมที่เราเลือกไว้ได้ โดยเราสามารถเปลี่ยนลิงค์ได้บ่อยตามต้องการ
ซึ่งอัตราการคลิกนี้วัดผลเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยนับจากจำนวนคนที่เห็นแล้วตัดสินใจคลิก ยกตัวอย่างเช่น มีคนเห็นหน้าโปรไฟล์ของเรา 1,000 คน ตัดสินใจคลิก Link ที่เราใส่ไว้ 100 คน ก็จะคิดเป็นอัตราการคลิก (Click-Through-Rate) 10% ตัววัดผลนี้จะช่วยบอกว่ามีคนสนใจใน Link ที่เราแปะไว้มากขนาดไหน
อีกหนึ่งวิธีในการเพิ่มจำนวนอัตราการคลิกให้มากขึ้นที่คนนิยมใช้คือการบอกว่าเราแปะ Link ไว้ และ Link นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรใน Content แบบต่างๆทั้ง Post และ Story ของเรานั่นเอง
เห็นไหมคะ ง่ายๆ แค่เข้าใจตัววัดผลหลักทั้งห้าแบบที่เรากล่าวมาข้างต้น แค่นี้เราก็จะรู้ได้แล้วว่าอินสตาแกรมของเราตอนนี้ทำงานเป็นยังไง
Contributor
Katina Rinsawad
Considered herself as a Digital Nerd. Full time digital marketer and freelance business consultant for SMEs. 70% of her life is spent in digital world while the remaining 30% is with luggages, boarding passes, and 2 cameras.