LinkedIn แพลตฟอร์มลิงก์คน ลิงก์ธุรกิจ

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ custom_margin=”0px||||false|false” custom_padding=”0px||||false|false”][et_pb_row _builder_version=”3.25″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.25″ custom_padding=”|||” custom_padding__hover=”|||”][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”]

[addthis tool=”addthis_inline_share_toolbox”]

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.5.3″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” header_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font_size=”28px” header_3_font=”Thai Regular||||||||” header_3_font_size=”26px” header_4_font=”Thai Regular||||||||” header_4_font_size=”24px” header_5_font=”Thai Regular||||||||” header_5_font_size=”21px” header_6_font=”Thai Regular||||||||” header_6_font_size=”18px” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”]

ดูเผิน ๆ อาจรู้สึกว่า LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มเล็ก ๆ ไม่ได้ดังเหมือน Instagram หรือ TikTok แต่ในปีค.ศ. 2016 บริษัท Microsoft ซื้อกิจการแพลตฟอร์มและแอพพลิเคชั่น LinkedIn ไปในราคา 2 หมื่น 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8 แสนล้านบาท! ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอยู่ทีเดียว เพราะรายได้ของ LinkedIn เติบโตขึ้นทุกปี พร้อมกับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น โดยในปีค.ศ. 2019 LinkedIn ทำรายได้ไปถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท!

อะไรคือความเจ๋งของแพลตฟอร์มออนไลน์นี้ วันนี้ UNBOK BKK ขอแกะกล่องมาให้รู้จักกับ LinkedIn ในแง่มุมต่าง ๆ กันมากขึ้น

นิยามของ LinkedIn

LinkedIn เรียกตัวเองว่าเป็น Social Media for Professional หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ หรือให้เข้าใจง่ายคือเป็น Facebook ที่องค์กรธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาพบกัน โดยบนแพลตฟอร์ม Social Media นี้ มี 2 ฝ่ายใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ Profile บุคคลธรรมดา และ Profile ขององค์กรธุรกิจ

ในเบื้องต้น บุคคลทั่วไปใช้ LinkedIn ในการแสดงประวัติการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน คล้ายกับเป็น Resume ออนไลน์ที่ใครก็เปิดเข้ามาดูได้ โดยฟีเจอร์ที่สำคัญคือให้เพื่อนหรือคนรู้จัก (Connection) ของเราบน LinkedIn เข้ามาช่วยรับรองความสามารถ (Endorse) เพื่อยืนยันว่าเราเคยผ่านงานลักษณะนั้นนั้นมาแล้ว หรือมีสกิลตามที่ระบุไว้จริงๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือได้ด้วย

สำหรับบุคคลทั่วไป LinkedIn จึงมีบทบาทสำคัญในการสมัครงานและขยายเครือข่ายของคนรู้จักเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งโพสต์ ลงรูป แชร์ลิงก์ อัพเดตสเตตัสเหมือน Facebook ได้ด้วย แต่เนื่องจาก LinkedIn เป็นพื้นที่เกี่ยวกับด้านธุรกิจ โพสต์ต่างๆ จึงมักเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงธุรกิจ หรือแสดงความเชี่ยวชาญของตัวเอง ทำให้ในหน้าฟีดของ LinkedIn แทบไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวหรือข่าวดาราบันเทิงเลย จะเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน หลักคิดในที่ทำงาน และเรื่องของธุรกิจแทบทั้งหมด

ในขณะเดียวกัน Headhunter หรือ Recruiter ก็ใช้ LinkedIn เป็นช่องทางในการเสาะหาและตรวจสอบประวัติของ Candidate ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับอยู่เช่นกัน

ส่วนกลุ่มบริษัทใช้ LinkedIn เป็นพื้นที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท แสดงวิสัยทัศน์ ประกาศรับสมัครงาน ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ภาคธุรกิจจะเข้ามาศึกษาธุรกิจของกันและกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างโปรเจคหรือขยายเครือข่ายธุรกิจร่วมกันต่อไป

ในปีค.ศ. 2020 LinkedIn มีผู้ใช้งานมากกว่า 700 ล้านคนทั่วโลก โดยช่วงปีค.ศ. 2015-2020 มียอดผู้ใช้ในประเทศไทยเติบโตขึ้น มากกว่าปีละ 1 แสนคน

LinkedIn หาเงินได้อย่างไร?

LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มใช้ฟรี แต่ขายแพ็คเกจฟีเจอร์เสริมซึ่งคนทั่วโลกหลงรัก ผลสำรวจพบว่ามีผู้ใช้ LinkedIn มากกว่า 39% จ่ายเงินเพื่อสมัครใช้แพ็คเกจนี้ที่มีชื่อว่า LinkedIn Premium แต่ละแพ็คเกจจะเพิ่มฟีเจอร์มาอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครงานหรือผู้จัดหางาน โดยมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ดังต่อไปนี้:

1. Premium Career (29.99 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน)
เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังหางาน โดยมีฟีเจอร์ในการตรวจสอบว่ามี ใคร หรือโดยเฉพาะมี Recruiter คนไหนเข้ามาดูโปรไฟล์ของเราบ้าง เราตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัครบน LinkedIn มีการแข่งขันสูงแค่ไหน แล้วคุณสมบัติของเราเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่น ระบบจะช่วยคัดสรรงานที่กำลังเปิดรับให้กับเรา นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อความตรงถึงคนที่เราไม่ได้เป็น Connection ด้วย (InMail) ได้จำนวน 3 ฉบับต่อเดือน

2. Premium Business (59.99 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน)
สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาพนักงานใหม่ สามารถใช้ช่องเสิร์ชของ LinkedIn ได้ละเอียดมากขึ้น โดยจะแสดงผลของผู้ที่อาจเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราใช้ค้นหาจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่ง InMail ได้เดือนละ 15 ฉบับ

3. Sales Navigator Pro หรือ Sales (79.99 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน)
สำหรับผู้ทำงานขาย ใช้ช่อง Search ของ LinkedIn โดยเจาะลึกกลุ่มเป้าหมายเป็นภูมิภาคหรือคัดจากระดับตำแหน่งงานที่ทำก็ได้ มีโปรแกรมช่วยค้นหากลุ่มเป้าหมาย และติดตามการขายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมการส่ง InMail ได้เดือนละ 20 ฉบับ

4. Recruiter Lite หรือ Hiring (119.95 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน)
แพ็คเกจของ Recruiter หรือ Headhunter ปรับช่อง Search ของ LinkedIn ให้เป็นแบบที่สร้างมาเพื่อ Recruiter โดยเฉพาะ มาพร้อมระบบติดตามผู้สมัครและเอไอที่ช่วยคัดผู้ที่มีคุณสมบัติตามลักษณะงานที่เรากำลังจัดหาคน นอกจากนี้ยังส่ง InMail ได้สูงสุดถึงเดือนละ 30 ฉบับด้วยกัน

ทุกแพ็คเกจมาพร้อมวีดีโอสอนใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ และออนไลน์คอร์สที่เกี่ยวข้องจาก LinkedIn

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ LinkedIn

– 61% ของผู้ใช้ LinkedIn อยู่ในวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-34 ปี เพราะเนื้อหาบนแพลตฟอร์มกรองผู้ใช้ส่วนหนึ่งออกไป คือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่ทำงาน และกลุ่มสูงอายุที่ไม่ได้สนใจด้านธุรกิจแล้ว
– ข้อความโฆษณาส่งตรง หรือ InMail ถูกเปิดอ่านถึง 52% ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะโฆษณาเหล่านี้ส่วนมากคือโอกาสที่เข้ามาเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางอาชีพการงาน หรือเป็นคอร์ส, งานสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญของแต่ละคน เหล่านี้เป็นข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้ LinkedIn อยู่แล้ว ทำให้การโฆษณาบน LinkedIn ได้ประสิทธิภาพสูง
– 94% ของนักการตลาดระดับ B2B ทำโฆษณาบน LinkedIn เพื่อเชื่อมธุรกิจกับธุรกิจเข้าด้วยกัน

Tips เล็กน้อย สำหรับการสร้างโปรไฟล์ LinkedIn ที่ดี

มาถึงตรงนี้แล้ว UNBOX BKK ขอฝากเคล็ดลับไม่กี่ข้อ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาประสบการณ์บน LinkedIn และทำให้โปรไฟล์ส่วนบุคคลของเราถูกค้นเจอโดยเหล่า Headhunter และ HR ได้ง่ายขึ้น

1. ใช้ภาษาอังกฤษ
เนื่องจาก LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มระดับโลก บริษัทที่กำลังหาคนก็มาจากทั่วประเทศ Recruiter และระดับบริหารของหลายองค์กรก็เป็นชาวต่างชาติ ดังนั้นเราจึงควรเขียนโปรไฟล์ของเราเป็นภาษาอังกฤษ ความผิดถูกของภาษานั้นอาจไม่สำคัญเท่ากับใช้ภาษาที่ใช้ เพราะสำหรับชาวต่างชาติ ถ้าเจอแต่โปรไฟล์ที่เป็นภาษาไทยล้วน ก็อาจจะหมดกำลังใจอ่านและกดข้ามไปในทันที แต่อย่างน้อยถ้าโปรไฟล์ของเราเป็นภาษาอังกฤษ ก็ยังมีอะไรให้เขาอ่านหรือพอทำความเข้าใจได้ หากว่าไม่มั่นใจเรื่องภาษาก็อย่าลืมให้คนตรวจทาน หรือใช้แอพพลิเคชั่น อาทิ Grammarly ช่วยตรวจด้วย

2. เล่าประสบการณ์ให้ชัดเจน
เพื่อให้ Recruiter อ่านแล้วเข้าใจทันทีว่าเราเคยทำงานอะไรมาบ้าง ใช้โปรแกรมตัวไหนเป็น หรือเคยรับผิดชอบงานอะไรในแผนกต่าง ๆ อันนี้คล้ายกับวิธีการเขียน Resume แต่เมื่อบน LinkedIn มีพื้นที่ให้อธิบายมากกว่าใน Resume ที่เป็นกระดาษ A4 แผ่นเดียว ก็อย่าลืมใช้พื้นที่นี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด Recruiter จะได้เข้าใจเราได้มากขึ้น

3. เข้าร่วมกลุ่ม (Groups) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญของเรา
อาจจะเป็นกลุ่มของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน หรือเคยทำงานในบริษัทเดียวกันก็ได้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อติดตามข่าวสารในแวดวงที่เราอยู่ และเพิ่มความสะดวกในการส่งข้อความส่วนตัวหาผู้อื่น เนื่องจาก LinkedIn ไม่ให้บุคคลส่งข้อความตรงถึงกัน ถ้าไม่ได้ Connect เป็นเพื่อนกันก่อน ทั้งนี้ คนที่อยู่ใน Group เดียวกันสามารถส่งข้อความตรงถึงกันได้ จึงช่วยเพิ่มความสะดวกในการสมัครและจัดหางาน

อย่าลืมว่า LinkedIn เรียกได้ว่าเป็น Professional Profile หรือที่บอกว่าเป็น Resume แบบออนไลน์ ดังนั้นผู้ใช้ควรมีความเป็นมืออาชีพเข้าไว้ ขอให้ทุกคนใช้ LinkedIn อย่างมีประสิทธิภาพกันนะครับ 😊

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ top_divider_color=”rgba(34,64,154,0.31)” top_divider_flip=”horizontal” border_width_top=”2px” border_color_top=”#22409a” border_width_bottom=”2px” border_color_bottom=”#22409a”][et_pb_row column_structure=”2_5,3_5″ _builder_version=”4.3.3″ custom_padding=”0px||0px||false|false”][et_pb_column type=”2_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/05/karn.png” alt=”Karn” title_text=”topic-product-placement-kdrama” align=”center” _builder_version=”4.4.6″ width=”60%”][/et_pb_image][/et_pb_column][et_pb_column type=”3_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”10px||||false|false”]

Contributor

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.4.6″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”0px||||false|false”]

Karn Triamsiriworakul

Learned about reasoning from the school of law but landed job in marketing field to work toward his interest in art and psychology.

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Nisara Sittatikarnvech

Gamification Marketing การตลาดที่ใช้ ‘ความสนุก’ และ ‘ความอยากเอาชนะ’ เป็นอาวุธทีเด็ด!

ทุกคนคงจำความรู้สึกเวลาที่เรานั่งใจจดใจจ่ออยู่กับหน้าจอ มุ่งมั่นตั้งใจเอาชนะเกมๆ นึงเพื่อให้ผ่านด่านบอส เก็บแต้มให้ได้มากที่สุด และจบเกมด้วยรสชาติของชัยชนะในวัยเด็กพอได้ใช่ไหม? ความรู้สึกนี้แหละที่เรากำลังจะพูดถึงในบทความนี้ ไม่ได้เป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่ผ่านมาและผ่านไป แต่ในฐานะของความรู้สึกที่เป็นตัวตั้งต้นของหนึ่งในเทคนิคทางการตลาดที่กำลังครอง เทรนด์ของปี 2021

Read More »
blog
Pichapen Sorum

เราจะจัดการกับคอมเมนท์ในเชิงลบบน Social Media อย่างไรดี

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Andrew Hutchinson เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ SocialMediaToday วันที่ 6 กรกฎาคม 2020) หลายๆครั้งผู้ดูแล

Read More »
Comodo SSL