อัปเดตเทรนด์รูปแบบการทำงานในปี 2022 พร้อมตัวอย่างการทำงานขององค์กรต่างๆ ในยุค New Normal

เนื่องจากวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แนวคิดการทำงานแบบ Work From Home ได้รับความรับความนิยมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดการพลิกโฉมระบบบริหารจัดการขององค์กรที่ปรับตัวและก้าวสู่รูปแบบการทำงานในมิติใหม่ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ในการทำงาน การติดต่อประสานงานภายในทีม การลากิจ ไปจนกระทั่งการใช้เวลาพักผ่อนส่วนตัวที่บ้าน หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานมากขึ้น

ในบทความนี้ทีมงาน UNBOX จะมาอัปเดตเทรนด์การทำงานในปี 2022 ที่ต่อเนื่องมาจากปี 2021 และนำเสนอตัวอย่างขององค์กรต่างๆ ที่ปรับตัวเพื่อรับกับการทำงานในรูปแบบใหม่กันว่ามีการจัดการยังไงกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ลองเป็นไอเดียปรับเปลี่ยนกันค่ะ

รูปแบบการทำงานที่ประสบผลสำเร็จและอัปเดตเทรนด์รูปแบบการทำงานในปี 2022 ที่คนยุคใหม่ควรรู้

Work From Home ถือว่าเป็นเทรนด์ใหม่ของคนทำงานในองค์กรที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สำหรับการทำงานแบบใหม่นี้ และยังคงจะส่งผลต่อเนื่องในปี 2022 เป็นการทำงานด้วยตัวเองที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางมาทำงานที่บริษัท และมีการติดต่อสื่อสาร หรือประสานงาน รวมไปถึงการประชุมงานผ่านทางเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เช่น Zoom, Google Meet เป็นต้น ทำให้การสื่อสารระหว่างวันต่อเนื่องได้มากขึ้น รวมถึงการทำงานแบบจัดวันเข้าออฟฟิศ ทำงานที่บ้านบ้าง เข้าออฟฟิศบ้าง

การทำงาน Work From Home (WFH) เต็มรูปแบบ

มีหลายบริษัทที่ใช้ระบบการทำงานแบบ WFH อย่างเต็มรูปแบบ โดยการทำงานจะเหมือนตอนเข้าออฟฟิศ มีการกำหนดเวลาในการทำงานอย่างชัดเจน และใกล้เคียงกับเวลาทำงานที่เคยทำในออฟฟิศ เช่น เวลาทำงานในออฟฟิศ คือ 09.00 น. – 17.00 ก็ต้องทำงานตามเวลาเดิมที่ออฟฟิศกำหนด แต่อย่างไรก็ตามการทำงานแบบ WFH นั้นก็สามารถทำงานปกติไปด้วยและทำงานบ้านไปได้ด้วยเช่นกัน ส่วนการประชุมงานหรือการสื่อสารงานต่างๆ ก็จะใช้ Tools หลายๆแบบเข้ามาช่วย อย่างเช่น Zoom ที่เป็นที่นิยม

ถึงแม้ว่าการทำงานที่บ้านจะให้ความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น สามารถลาหยุด ลาป่วยได้ปกติ แต่พนักงานต้องทำงานให้สำเร็จและมีผลงานให้เหมือนกับการทำงานที่ออฟฟิศ บางบริษัทถึงกับเช็คเวลาเข้า-ออกของพนักงานด้วย สำหรับกลุ่มบริษัทที่ทำงาน WFH เต็มรูปแบบส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานเทคโนโลยี และการตลาดเป็นส่วนมาก

ตัวอย่างบริษัทที่ทำงานในรูปแบบ WFH แล้วประสบความสำเร็จ

1. Hotjar

Hotjar บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์เว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า Web Anatytic Tool เพื่อใช้วัดตัวเลขของผู้เข้าชม และวิเคราะห์ความสำเร็จให้กับเจ้าของเว็บไซต์ ตอนนี้เป็นบริษัทที่เน้นการทำงาน WFH อย่างเต็มรูปแบบ 100% โดยมีกฎเกณฑ์การทำงานระหว่างพนักงานกับบริษัทที่ทำแล้วมีประสิทธิภาพดังนี้

  • ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและจิตเป็นหลัก
  • พนักงานทุกคนต้องประชุมงานพร้อมกันอย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละสัปดาห์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าของงาน
  • ผู้บริหารสามารถตรวจสอบการทำงานได้ของพนักงานได้ว่าแต่ละคนทำงานอะไรบ้างในแต่ละวัน
  • ไม่มีกำหนดเวลาการทำงาน แต่ต้องทำงานให้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้
  • กำหนดให้วันพุธเป็น Meeting Day พนักงานทุกคนต้องมาเจอกันทาง Online Meeting โดยมาแชร์เรื่องทั่วๆไป ไม่พูดคุยเรื่องงาน

2. Buffer

เป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญการทำงานเรื่อง Social Marketing ช่วยสร้างช่องทาง Social Media และทำการตลาดออนไลน์ให้กับแบรนด์ดังๆ มากมาย เช่น Spotify, Business Insider ซึ่งการทำงานของบริษัท Buffer เรียกได้ว่าเป็นการทำงาน WFH อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่คุณภาพดังนี้

  • กำหนดให้ประชุมผ่าน Zoom ทุกสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ถึงแม้การทำงานแบบ WFH จะให้อิสระในการทำงาน แต่พนักงานทุกคนต้อง List ออกมาให้หัวหน้างานดูว่าจะทำอะไรบ้างในแต่ละวัน โดยสร้างปฎิทินรวมให้เห็นว่าใครทำอะไร เวลาไหนอยู่
  • พนักงานสามารถจัดตารางการทำงานด้วยตัวเอง และจัดวันหยุดได้ตามใจชอบ
  • สื่อสารผ่าน Slack เป็นช่องทางหลัก

ทำงานแบบ Hybrid อยู่บ้านบ้าง เข้าออฟฟิศบ้าง

ถึงแม้ว่าจะมีหลายบริษัทที่มีการทำงานที่บ้านแบบ 100% แต่ยังมีบางบริษัทที่มีรูปแบบการทำงาน WFH บ้าง เข้าออฟฟิศบ้าง โดยให้พนักงานทำงานที่ออฟฟิศ 2-3 วันต่อสัปดาห์ และสลับการทำงานแบบ WFH เนื่องจากมีบางตำแหน่งที่ลักษณะงานไม่เอื้อต่อการทำงาน WFH ได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น กลุ่มงานบัญชี หรือบริษัทที่ต้องลงนามเอกสารสำคัญที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ รวมถึงบริษัทที่ไม่มีความพร้อมในระบบไอที และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานในการทำงานแบบ WFH ได้ ตัวอย่างบริษัทที่ทำงานในรูปแบบ Hybrid ในประเทศไทยเช่น

1. ดีแทค

องค์กรชื่อดังที่ทำเกี่ยวกับเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ โดยทางบริษัทได้วางรูปแบบการทำงานแบบ New Normal มาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งพนักงานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พนักงานที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้, พนักงานที่สามารถทำงานได้จากที่บ้านได้บางช่วงเวลา และพนักงานที่สามารถทำงานได้จากที่บ้านตลอดเวลา โดยจะใช้ SharePoint หรือ Microsoft Teams มาใช้ในการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญยังมีการนำเทคโนโลยี VPN (Virtual Privat Network) มาใช้ในองค์กร เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกบริษัทได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น 

2. LPN

LPN หรือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.เวลอปเมนท์ บริษัท Real Estates ชั้นนำในประเทศไทย ได้มีการลดจำนวนการให้พนักงานเข้าบริษัทลงถึง 50% และเข้าบริษัทสลับกันกับพนักงานที่ทำงานที่บ้าน โดยทางบริษัทได้เตรียมระบบการทำงานและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อความคล่องตัวในการสื่อสารและการประชุม รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์การทำงาน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การประชุมจากห้องประชุมที่ออฟฟิศ จะต้องใช้ Zoom เพื่อให้พนักงานที่ WFH รับรู้ด้วย

เทรนด์รูปแบบการทำงานในปี 2022 อื่นๆ ที่น่าจับตามอง

  • ใช้ระบบ AI มาช่วยทำงานมากขึ้น สายงานที่นิยมได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์ การเก็บข้อมูลการตลาด การขาย เป็นต้น
  • เพิ่มความยืดหยุ่นและดูแลสุขภาพบุคลากร โดยเฉพาะสุขภาพจิต การเปิดใจรับฟังและช่วยแก้ปัญหาคือความท้าทายขององค์กรในปี 2022
  • โฟกัสที่การพัฒนา Skills หรือความสามารถของบุคลากร มากกว่าการโฟกัสที่การโปรโมทตำแหน่งงานของพนักงาน รวมถึงการพัฒนาคนเพื่อให้เติบโตไปพร้อมๆ กับองค์กร

และทั้งหมดนี้คือเทรนด์การทำงานทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและเห็นได้ชัดในปี 2021 และเทรนด์ที่กำลังชัดเจนขึ้นในปี 2022 สำหรับองค์กรไหน หรือผู้บริหารท่านไหนที่กำลังอยากจะปรับรูปแบบการทำงานให้กับองค์กร ก็ลองหยิบไอเดียเหล่านี้ไปปรับใช้กันได้เลยค่ะ

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Nisara Sittatikarnvech

5 เทคนิคพิชิตยอดฟอล-ยอดไลค์สุดปังบน Instagram ฉบับไม่ต้องซื้อ!

จาก Social Media Platform ที่เอาไว้ใช้ไถดูรูปเล่นๆ เพื่อความเพลิดเพลิน แต่ในปัจจุบันนี้ Instagram กลายมาเป็นเครื่องมือที่เรียกได้ว่าเป็นไฟลต์บังคับของการทำตลาดดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจ

Read More »
blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

Virtual Experiential Marketing (VEM) 101 ใครยังไม่รู้จักเชิญทางนี้

ใครที่ได้เรียนวิชาทางด้านการสื่อสารการตลาด คงคุ้นเคยกับคำว่า Experiential Marketing หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าการตลาดเชิงประสบการณ์ โดยมีความหมายว่าเป็นการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความทรงจำ อารมณ์

Read More »
blog
Supat Imyoo

Zapier เครื่องมือทำ Automation

ในสายงานการตลาดนั้น วันๆหนึ่งเรามีสิ่งที่ต้องทำมากมากมาย ซึ่งสิ่งที่น่าเบื่ออย่างหนึ่งคืองานที่เป็น Routine หรือว่างานที่ทำซ้ำไปซ้ำมา เช่น ทำ Report, Export ข้อมูล

Read More »
Comodo SSL