Pitching อย่างไรให้ Win

การ Pitching นั้นเกิดได้ในหลายโอกาส โดยอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาบริษัท Startup ต่างๆ นำเสนอไอเดียและแผนการในการดำเนินธุรกิจให้แก่นักลงทุน หรืออาจเป็นศัพท์ที่ใช้ทั่วไปเมื่อเอเจนซี่ Pitch งาน ให้ลูกค้าหลายแบรนด์เลือกใช้บริการ ดังนั้นแล้วความหมายโดยรวมของการ Pitching นั่นก็คือการนำเสนอไอเดียให้ถูกใจลูกค้า และได้รับเลือกท่ามกลางคู่แข่งที่อาจจะมีจำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์

ดังนั้นแล้ว Pitching จึงถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของหลายบริษัท เพราะถือว่าเป็นหน้าด่านทางธุรกิจที่จะทำให้เกิดพันธะสัญญาทางธุรกิจตามมา แต่หลายบริษัทอาจมีปัญหาในการ Pitching ว่าทั้งๆ ที่ตนเองมีเนื้อหาที่ดี แต่กลับไม่มั่นใจ หรือไม่ประสบความสำเร็จในการ Pitching วันนี้ทาง UNBOX จึงรวบรวม Tips การ Pitching มาฝากกัน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกรูปแบบของการ Pitching ค่ะ

1. ทำการบ้าน ศึกษาลูกค้า และศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน

สิ่งที่เป็นขั้นตอนพื้นฐานแต่เรามักหลงลืมกันไป นั่นก็คือหลังจากที่เราพัฒนาเนื้อหาจนเสร็จสิ้นก่อนจะไปขึ้นเวที Pitching จริง ลองกลับไปอ่านบรีฟของลูกค้า หรือตรวจสอบความเข้าใจที่มีต่อลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง เพราะบางครั้งเราอาจพัฒนางานตามบรีฟที่ได้รับ แต่เมื่อพัฒนางานไปเรื่อยๆ ไอเดียนั้นอาจจะฟุ้งจนหลงลืมความต้องการของลูกค้าบางประการไป และที่สำคัญลองตรวจสอบเกณฑ์การให้คะแนนให้ดีอีกครั้งหนึ่ง เราจะได้มั่นใจว่าเราไม่ได้หลงลืมการให้ความสำคัญกับส่วนไหนไป เช่นบางครั้งกรรมการอาจให้ความสำคัญกับ Teamwork แต่เราอาจมองข้ามประเด็นนี้ไปก็เป็นได้ค่ะ

2. Storytelling ที่ดี ต้องมาควบคู่กับความตรงประเด็นและความจริงใจ

แทบทุกตำราของการ Pitching นั้นให้ความสำคัญกับวิธีการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ซึ่งไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าควรมีวิธีการเริ่มอย่างไร และต้องจบอย่างไร แต่ประเด็นสำคัญนั้นต้องทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเห็นความสำคัญของปัญหา และเห็นความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา ทั้งนี้ใครหลายคนอาจให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนหรือหวือหวามากเกินไปจนอาจทำให้เข้าใจยาก หรือฟังดูเป็นความเพ้อฝันเกินเรื่องจริง ดังนั้นต้องอย่าลืมสื่อถึงความตรงประเด็น และความจริงใจด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ และเชื่อถือเราได้ง่ายควบคู่ไปกับ Storytelling ที่น่าสนใจ

3. มีคุณค่ามากกว่าการแก้ปัญหาที่คาดเดาได้

หากการแก้ปัญหานั้นง่ายดายผู้ว่าจ้างคงไม่ต้องรอฟังไอเดียจากการ Pitching ดังนั้นแล้วผู้ว่าจ้างจึงรอฟังความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านการศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดี และสามารถสร้างมูลค่าที่ต่อยอดให้กับธุรกิจได้ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นยังต้องอยู่บนหลักการของการวางแผนอย่างรัดกุมและการเป็นไปได้ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นดูไม่ฟุ้งจนเกินไป

4. มีสิ่งที่น่าจดจำในสายตาลูกค้า

ในวันๆ หนึ่ง ลูกค้าอาจจะต้องฟังการ Pitching หลายครั้ง เราจึงควรวางแผนการนำเสนอของตนเองว่าอะไรที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำเหนือคู่แข่งคนอื่น โดยสิ่งนั้นควรเป็นทั้งตัวเนื้อหา หรือจุดเด่นที่นำเสนอในแผนงานของเรา รวมไปถึงตำราการพูดในที่สาธารณะส่วนมากมักให้ความสำคัญถึงคำว่า “End with Bang” หรือการสร้างตอนจบที่น่าจดจำประทับใจ เหมือนกับการชมคอนเสิร์ตที่เพลงสุดท้ายมักเป็นเพลงที่สนุกสนาน และสร้างความรู้สึกอิ่มเอมให้ผู้ชมก่อนเดินออกจากฮอลล์ไป

5. ภาพ เสียง แอคชั่น ไปด้วยกัน

ในการ Pitching แต่ละครั้ง การพูด สไลด์ และท่าทางของผู้พรีเซ้นต์นั้นต้องทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งหลายครั้งที่บริษัทมักพลาดโดยการให้ความสำคัญกับตัวสไลด์มากเกินไป จนทำให้การพรีเซ้นต์นั้นโฟกัสไปที่ข้อมูลและทำให้ผู้ฟังต้องอ่านมากเกินไป ซึ่งแท้จริงแล้วสไลด์ หรือสิ่งที่เรียกว่า Presentation Deck นั้นเป็นเพียงผู้ช่วยในการพรีเซ้นต์ (Visual Aids) เช่นการได้เห็นภาพประกอบ กราฟข้อมูลประกอบ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือผู้บรรยายที่อธิบายข้อมูลได้อย่างเข้าใจ และทำให้ผู้ฟังรู้สึกเชื่อตามสิ่งที่เราอธิบายได้มากกว่า

6. มีความเป็นมิตร น่าร่วมงานด้วย
สุดท้ายแล้วการ Pitching นั้น ปลายทางคือการร่วมมือกันทางธุรกิจในที่สุด ดังนั้นอย่าลืมนำเสนอแง่มุมความเป็นมิตร แสดงท่าทางการร่วมงานที่เข้าถึงง่ายของเรา อาจจะเป็นด้วยท่าทางการพรีเซ้นต์ที่แสดงออกถึงความเป็นมิตร การตอบคำถามที่มีไอเดียที่ดี ชัดเจน แต่ยังประกอบไปด้วยความนอบน้อม และรับฟังพร้อมปรับปรุงแก้ไข

และข้อสุดท้ายนั้น การ Pitching ที่ประสบความสำเร็จอาจต้องใช้ระยะเวลาในการลงสนามพอสมควร ดังนั้นหากเรารู้สึก Failed กับครั้งแรก หรือในช่วงแรก ถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก ๆ สำหรับรูปแบบเวที Pitching ดังนั้นแล้วทาง UNBOX BKK ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านได้พยายามและฝึกฝนจนกว่าจะสามารถ Pitching ได้อย่างมั่นใจ และสามารถชนะ Match ที่คาดหวังได้ทุกท่านนะคะ  🙂

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Supat Imyoo

3 เครื่องมือในการจัดการ Digital Projects

เคยเจอปัญหาเหล่านี้กันไหม? ตามงานจนจะเลย Deadline แล้ว! ก่อนหน้านี้เวลาที่เราอยากตามงานเพื่อนร่วมทีม เราอาจจะแค่เดินไปทักทายที่โต๊ะแล้วก็แกล้งตามงานแบบเนียนๆ แต่ปัญหาการตามงานที่วุ่นวายได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจาก WFH มาแสนยาวนาน และบางบริษัทก็ยังใช้มาตรการนี้อยู่

Read More »
Comodo SSL