ลองเล่น Spatial.io ลุย Metaverse ที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกคน

กระแส Buzzword  คำว่า Metaverse ที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าจะยังไม่จางหาย แต่กลับมีลูกเล่นใหม่ๆ และเป็นที่นิยมพูดถึงในวงการสื่อสารการตลาดมากยิ่งขึ้น แบรนด์ต่างๆ เริ่มตื่นตัวและเริ่มมีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เช่นงานอีเวนต์ SCG Livingverse และกิจกรรมภายใต้ #AIS5GVERSE  แต่พอเห็นแบรนด์ใหญ่จับกระแส หลายคนเลยอาจจะคิดว่าการมีส่วนร่วมกับ Metaverse นั้นเป็นเรื่องที่ทุนต้องหนา ทุกอย่างต้องล้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วก็การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Metaverse อาจจะไม่ซับซ้อนเบอร์นั้นไปเสียทั้งหมด

หากพิจารณาถึงความหมายของคำว่า Metaverse อย่างง่าย นั่นก็คือการใช้ชีวิตอีกโลกหนึ่งที่เราสามารถใช้ชีวิตและทำทุกอย่างได้เหมือนการอยู่บนโลกมนุษย์ปกติมากที่สุด เช่นการมีตัวตน การพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น รวมไปถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมไปถึงกิจกรรมเหนือมนุษย์อย่างการบินได้ หรือการแวบไปแวบมาที่ไหนได้ในชั่วครู่ ดังนั้นระดับของ Metaverse จึงมีความหลากหลายตามระดับเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้น แต่ล้วนต้องใช้ขุมกำลังการประมวลผล Data ระดับมหาศาลอยู่เบื้องหลัง Verse นั้นๆ

ทีนี้แล้วหากเราอยากทำความรู้จัก Metaverse อย่างง่ายแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หลายบทความจึงมักแนะนำให้ลองหัดเข้าไปเล่นในแพลตฟอร์มสำเร็จชื่อ Spatial.io ซึ่งวันนี้ทาง UNBOX จะนำพาไปรู้จักกันโดยคร่าวๆ ว่า Spatial.io นี้ทำอะไรได้บ้าง และจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานระดับ Corporate ได้อย่างไร แต่หากเป็น How to เชิงลึกแล้วนั้น สามารถค้นหาบทความเพิ่มเติม หรือดู Tutorial VDO ใน YouTube ก็มีเยอะเลยล่ะค่ะ ซึ่งแนะนำว่าในขั้นพื้นฐานแล้วลองใช้คอมพิวเตอร์เข้าไปเล่นจะสะดวกที่สุดค่ะ

ก่อนอื่นเลย Spatial.io สามารถสร้าง Avatar โดยดึงภาพถ่ายของเรามาสร้างได้ ซึ่งภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของภาพผู้เขียน (สามารถเปรียบเทียบกับหน้าจริงของผู้เขียนได้ในด้านล่างคอลัมน์) จากนั้นเราก็สามารถเลือกสีผิว ชุดต่างๆ แม้จะออกมาไม่เหมือนตัวเรา 100% แต่ถ้าเลือกรูปให้ดี ก็ออกมาไม่แย่เลยนะคะ แล้วคนอื่นใน Spatial.io ก็จะเห็นเราในแบบที่เราปรับแต่งตัวเราเองค่ะ

เมื่อเรามี Avatar ใน Spatial.io สำเร็จ จากนั้นเราก็สามารถคลิกเข้าไปเยี่ยมชมห้องหรืออีเวนต์ที่มีคนสร้างไว้ Public ได้ โดยปกติแล้วเวลาเราเล่นใหม่ๆ เราอาจจะกดเข้าห้องที่ไม่มีคนอยู่ ก็คงทำได้แค่เดินดูนู่นนี่นั่นจิปาถะ แต่ถ้าลองกดเข้าห้องที่มีคนอยู่ อาจจะได้เจอบรรยากาศคนคุยกันจริงๆ แบบคุยกันด้วยเสียงเลยนะคะ ผู้เขียนเคยกดไป Join ห้องหนึ่งที่เป็นชาวต่างชาติที่เค้าคุยภาษาของเค้ากันอยู่ แล้วเราฟังไม่ค่อยออก เขินเลย J

ถ้าเบื่อการไปจอยห้องคนอื่นแล้ว อยากมีห้องเป็นของตัวเองบ้างก็ทำได้ โดย Spatial.io นั้นมี Template การสร้างห้องอย่างสวยงามให้อยู่แล้ว ทีนี้ถ้าเราอยาก Customize ห้องของเรา เช่นหาของมาตั้งเพิ่ม เขียนป้ายแปะฝาผนัง ก็สามารถทำได้ แล้วเรายังสามารถกดเชิญเพื่อนมาเข้าห้องที่เราสร้างได้อีกต่างหากค่ะ

ซึ่งนอกเหนือไปจากห้อง Template ปกติแล้ว ผู้ใช้คนใดที่มีความสามารถและมีเวลาก็สามารถที่จะปรับแต่งห้องและฟังก์ชั่นของห้องให้จัดอีเวนต์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ โดยทาง Spacial.io ได้แนะว่ารูปแบบอีเวนต์ที่สามารถจัดได้มีคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

1. Gallery Party: Artist Spotlight หรือ Collaborative Gallery
คือการสร้างแกลเลอรี่งานศิลปะผสมผสานกับการพบปะสังสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นประเภทยอดนิยมใน Spatial.io หากเราลองเดินเล่นโดยรอบๆ โดยจะเป็นศิลปินเดี่ยว หรือจะเชิญศิลปินหลายๆ คนมาร่วมกันสร้างสรรค์งานก็ได้


2. Branded Event
คืองานที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมแบรนด์โดยเฉพาะ โดยทาง Spatial.io ได้ยกตัวอย่างงาน McDonald’s x Humberto Leon: Lunar New Year Event ตามภาพด้านล่างนี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการดีไซน์รูปร่างหน้าตาสีสันให้สอดคล้องกับแบรนด์ ซึ่งหากใครที่ไม่ถนัดทำเองก็สามารถลองคุยกับบริษัทออกแบบพาร์ทเนอร์อย่าง M2 Studio ได้ค่ะ นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถสตรีมงานเราผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น YouTube ได้อีกด้วย

3. Album Launch Party หรือ Movie Premiere
คือการรับชมถ่ายทอดสด หรือรอบพรีเมียร์ของอะไรสักอย่างไปพร้อมกัน เรียกได้ว่าเป็นการรับชมแบบจอซ้อนจอ แต่ก็น่าจะสนุกไปอีกแบบ


4. Poster Session, Expo, หรือ Speaker Series
สายวิชาการที่คุ้นชิน Poster Presentation อาจจะลองเปลี่ยนมาทำการนำเสนอโปสเตอร์ใน Spatial.io ก็ได้ ซึ่งสามารถที่จะทำตารางได้ว่า Speaker ท่านใดจะพูดเวลาไหน สามารถใช้ Power Point และอีกหลายๆ ฟังก์ชั่นให้เรารู้สึกเหมือนงานอีเวนต์จริงเลย


5. Talkshow หรือ Podcast
Speaker สามารถสร้างเวที สื่อสารด้วยเสียง แล้วถ้าใช้อุปกรณ์ประเภท Headset นั้นก็ยังจะสามารถสร้างการเคลื่อนไหวที่คล้ายจริงได้อีกด้วย


6. Panel
เวลาเราไปสัมมนาแล้วเจอรูปแบบ Panel ยอดฮิตSpatial.ioสามารถทำได้เหมือนกันเลยค่ะ แถม Moderator ยังสามารถดูแลการถามตอบจากผู้ชมทางบ้านได้ และยังสามารถ Stream การถ่ายทดสดนี้ผ่านทางช่องทางอื่นได้อีกด้วย ทำให้ลดจำนวนคนที่จะเข้าสู่ Spatial แล้วเกิดอาการหน่วงของเว็บ


7. Clubhouse, Ticketed Events หรือ Persistent Environment
เราสามารถสร้างอีเวนต์แบบปิดเฉพาะสำหรับคนที่มีสิทธิเข้า หรือซื้อตั๋วแล้วเท่านั้นได้ ซึ่งก็จะยิ่งสร้างความ Exclusive ให้กับงานขึ้นไปอีก


8. Brainstorming, Team Planning หรือ Virtual Meetings
ถือเป็นรูปแบบตั้งต้นการใช้งานของ Spatial.io ซึ่งฟังก์ชั่นยอดนิยมที่ใช้งานได้ง่ายมากๆ นั่นก็คือการแปะ Post-it แล้วยังสามารถ Set หน้าตาของห้องประชุม พร้อมใช้ฟังก์ชั่นการแชร์จอ แชร์ไฟล์ต่างๆ ได้เหมือนการประชุมจริงอีกด้วย

แต่ทั้งนี้ ข้อจำกัดของ Spatial.io ก็คือในห้องๆ หนึ่งสามารถมี Avatar เข้าไปร่วมได้ครั้งละ 50 คนในเวลาเดียวกันเท่านั้น ซึ่งหากเราลองได้เล่นจริงๆ แล้ว อาจจะพอสัมผัสได้ว่าเมื่อเริ่มมีคนเกิน 20 กว่าคน ระบบก็จะเริ่มหน่วงนิดๆ แล้วล่ะค่ะ

ถ้าอ่านแล้วสนใจ ตัว Spatial.io นั้นเปิดให้ใช้งานได้ฟรีนะคะ ซึ่งในระดับฟรีก็ค่อนข้างใช้งานได้หลากหลายพอสมควรแล้ว แต่ถ้าใครอยากมีฟังก์ชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมสำหรับการจัดงานในการปรับ Mode ต่าง ๆ ให้ Advanced มากยิ่งขึ้น ก็สามารถลองสมัครแบบ Pro ในราคาประมาณ USD 25 ต่อเดือนได้ค่ะ

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Pichapen Sorum

เราจะจัดการกับคอมเมนท์ในเชิงลบบน Social Media อย่างไรดี

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Andrew Hutchinson เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ SocialMediaToday วันที่ 6 กรกฎาคม 2020) หลายๆครั้งผู้ดูแล

Read More »
blog
Nisara Sittatikarnvech

การฟื้นคืนชีพของ ‘ตู้ถ่ายสติกเกอร์ เทรนด์สุดฮิตที่เราคิดถึงจากยุค 90

ในสมัยที่สยามสแควร์ยังคงมีน้ำพุเซ็นเตอร์พอยต์ และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ที่ยังคงถูกเรียกในชื่อเดิมว่า “World Trade Center” ท่ามกลางวัฒนธรรมของกลุ่มวัยรุ่นที่เกิดขึ้นมากมายในย่านนี้ เคยมีเทรนด์หนึ่งที่ฮิตแซงแถวมากๆ ในขณะนั้น นั่นก็คือ ‘ตู้ถ่ายสติกเกอร์’

Read More »
Comodo SSL