Digital Design ศาสตร์เดิมในยุคใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้ไม่ตกขบวน

ในยุคที่หน้าจอมือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้ง 48.59 ล้านคนที่เข้าถึงอินเตอร์เนต แทบจะได้เห็นบ่อยกว่าหน้าจออื่นๆ อย่างโทรทัศน์ หรือป้ายตามถนน โดยเฉพาะช่วงโควิดระบาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ยิ่งทำให้เราได้เห็นว่าหน้าจอมือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญอย่างชัดเจนในชีวิตผู้คนทั่วโลก เช่น Laptop, Tablet, Smartphone ซึ่งแต่ละหน้าจอก็จะมีการแสดงผลแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะด้วยสี รูปร่าง และขนาด

เป็นที่รู้กันว่าจำนวน Digital Content ในแต่ละวันนั้นมีจำนวนมหาศาลแค่ไหน ดังนั้น Content ที่โดดเด่น น่าสนใจ และตรงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น จึงจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ Content Creator ทั้งหลายจึงจำเป็นมากที่จะต้องมีความเข้าใจว่า Content แบบไหนเหมาะกับอุปกรณ์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แบบไหน เพื่อให้ Digital Content ของเราเข้าถึงความสนใจ และความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด

Digital Design VS. Graphic Design ต่างกันอย่างไร?

เมื่อพูดถึงนิยามของการ Design แล้ว ความหมายของทั้งสองแบบคือ การสื่อสารด้วยสัญลักษณ์และภาพ เหมือนกัน แต่ความแตกต่างคือเมื่อพูดถึง Graphic Design แบบเดิม เรามักจะสื่อถึงการออกแบบภาพนิ่งขนาดต่างๆ เช่น การ์ด โลโก้ ใบปลิว ป้ายโฆษณา หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะเน้นการมองเห็นแล้วทำให้เกิดการรับรู้ (Awareness) ความรู้สึก และการจดจำได้เป็นหลัก แต่เมื่อพูดถึงการ Design ในยุค Digital นี้แล้วหน้าที่หรือนิยามจะแตกต่างออกไป

(โปรโมชั่นเปิดปี 2022 จากแบรนด์สำลี AIME มองแล้วรู้เลยว่าสินค้าราคา 59 บาท)

(Infographic หรือแผนภูมิรูปภาพ ทำหน้าที่อธิบายและย่อยข้อมูลที่ยากให้ง่ายขึ้นภายใน 1 รูป)

ก่อนหน้านี้ถ้าพูดถึงคำว่า Digital Design หลายคนมักจะนึกถึงการดีไซน์เว็บไซต์ (Web Design) เป็นอันดับแรก แต่ตอนนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เพราะสื่อ Digital นั้นรวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เชื่อมต่อด้วยอินเตอร์เนตทั้งหมดด้วย เช่น Facebook, Instagram, TikTok, LINE, หรืออื่นๆ ที่เน้นในเรื่องของการแสดงผลเพื่อให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ (Engagement) เข้ามาร่วมด้วย เช่น แบนเนอร์ ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพยนตร์โฆษณา เป็นต้น

ผู้ผลิตสื่อ Digital จะต้องมีความรู้เรื่องขนาดภาพ หรือความยาวของคลิปวีดีโอในแต่ละ Platforms จึงจะสามารถออกแบบสื่อมาได้เหมาะสมกับแต่ละสินค้าหรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การทำคลิปใน YouTube Ads ต้องทำเนื้อหาให้ดึงดูดคนภายใน 3 วินาทีแรก การทำ Google Banner ต้องคิดคำพูดและรูปที่เห็นแล้วคลิกทันที

จุดเด่นของ Digital Design

หลักๆคือ Digital Design จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อความที่แบรนด์อยากบอกลูกค้าโดยใช้เวลาอันสั้น มีผลต่อการเลือกรับรู้ และตัดสินใจของผู้บริโภค การออกแบบดิจิทัลจะเน้นไปที่ภาพเคลื่อนไหว เช่น Animation คอนเทนต์หรือเพจแบบโต้ตอบได้ (Interactive Content/Pages) และการสร้างแบบจำลอง 2 มิติหรือ 3 มิติ การออกแบบอาจรวมถึงการใส่เสียงและ Sound Effects เพื่อเสริมภาพให้การสื่อสารอย่างสมบูรณ์ขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น โฆษณาน้ำอัดลมจะต้องมีเสียงการเปิดกระป๋อง แกร๊ก ต่อด้วยการรินน้ำใส่แก้วให้เกิดความอยากกิน

นอกจากนี้ การใช้ภาพหรือคลิปวีดีโอในการนำเสนองานแทนข้อความธรรมดา จะทำให้ผลงานนั้นมีความน่าสนใจมากกว่า

Digital Design วัดผลและวิเคราะห์ผลได้

ข้อดีของการทำสื่อ Digital คือเราสามารถวัดได้ว่างานที่เราทำนั้นได้รับผลตอบรับปริมาณเป็นอย่างไร และไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ เช่น การเข้าชม ระยะเวลาการชม การแชร์ คอมเมนต์ และอื่นๆ รวมถึงยังสามารถนำผลที่ได้นั้นมาวิเคราะห์ หรือทำ A/B Testing เพื่อทดลองความชอบของกลุ่มเป้าหมาย และนำมาพัฒนาผลงานให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้อีกด้วย

สรุปได้ว่า Digital Design ก็เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการปรับตัวของผู้สร้างงานและผู้ผลิต Content ที่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และพัฒนาทักษะของตัวเองให้ทัน คิดในมุมของผู้ใช้งานสื่อ Digital ต่างๆเป็นหลัก เพื่อทำให้เราสามารถผลิตงานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากที่สุดค่ะ

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

9 ข้อผิดพลาดใน Resume ของเด็กจบใหม่ที่พี่ๆขอร้อง

วันนี้ UNBOX BKK ออกจะมาแนวแตกต่างสักหน่อยเพราะวันนี้เราอยากมาสื่อสารกับน้องๆที่กำลังจบใหม่โดยเฉพาะค่ะ จากการทำงานกับเด็กๆนิสิตนักศึกษามาร่วมหลายปี และได้พูดคุยกับพี่ๆที่ต้องเริ่มรับน้องๆจบใหม่เข้าทำงาน วันนี้ UNBOX BKK ได้รวบรวม

Read More »
Comodo SSL