Facebook Group แพลตฟอร์มที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม

นักการตลาดในยุคปัจจุบันหลายคนอาจสนใจการสร้างแบรนด์ใน Facebook Page แต่กลับหลงลืมช่องทาง Facebook Group ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการตลาดที่ทรงอิทธิพลมากกว่าที่เราคิด หากใครที่ตาม Social Media เป็นประจำ จะสังเกตได้ว่า Facebook Group ที่โด่งดังในช่วง COVID เป็นต้นมานั้น มีตั้งแต่มาร์เก็ตเพลสของสถาบันการศึกษา เทรนด์ฮิตกลุ่มหม้อทอดไร้น้ำมัน การจัดโต๊ะคอมพ์ จนไปถึงกลุ่มความสนใจทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มคนที่สนใจย้ายไปใช้ชีวิตต่างประเทศเป็นต้น โดยในการเกิดของกรุ๊ปนั้นอาจจะเป็นเรื่องราวของความสนใจโดยบริสุทธิ์ใจ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้าขายเบื้องหลังเป็นหลัก เช่นกลุ่มแฟนคลับศิลปิน กลุ่มศิษย์เก่า กลุ่มชื่นชมความน่ารักของน้องหมาน้องแมว ซึ่งอาจเกิดการซื้อขายกันได้เป็นประเด็นรองแล้วแต่กฎของกลุ่ม แต่ก็ยังมีกลุ่มประเภทหนึ่งที่มีความชัดเจนด้านการซื้อขาย เช่นกลุ่มซื้อขายต้นไม้ อุปกรณ์มือสองต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่าสำหรับตอนนี้แล้ว สินค้าทุกประเภทบนโลกนั้นแทบจะมี Facebook Group Community เป็นของตนเอง

จากบทความ “How to build your community with Facebook Groups” ของ SproutSocial  ได้กล่าวว่าสำหรับนักการตลาดแล้ว Facebook Group มีข้อดีดังต่อไปนี้

1. ให้ Organic Reach ที่มากกว่า
เราจะสังเกตตัวเราเองได้ว่า เวลาเลื่อน Feed Facebook นั้น พักหลังเราจะเห็นข้อความจากคนไม่รู้จักที่โพสต์ใน Facebook Group มากขึ้น อาจจะมากกว่า Page ที่เรา Follow หรือเพื่อนที่เราไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เองก็เป็นเพราะ Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับตัว Group นี้มากขึ้น เป็นความตั้งใจจากวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการสร้าง Community ในการแลกเปลี่ยนความสนใจต่างๆ

(กรุ้ปซื้อขายรถยุโรปมือสอง ไม่เสียเงินค่าโฆษณาแล้วยังตรงกลุ่มเป้าหมายด้วย)

(เดี๋ยวนี้แบรนด์อยากจะหา Influencers ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมี Facebook Group ที่เป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์กับ Influencers เพียงบอกรายละเอียดงาน ก็จะมี Influencers หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี)

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ตรงกับพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ หากเทียบสำหรับ Gen Y แล้ว Facebook Group เองอาจจะให้อารมณ์เหมือนสมัยที่เราเล่นบอร์ด Pantip.com กันบ่อย ๆ และสนุกกับการได้ฟังความเห็นของ Expert หรือคนทั่วไปที่เราไม่รู้จัก ก็จะได้มุมมองที่เปิดโลกมากกว่าการนั่งพูดคุยกับคนรู้จักรอบตัวเราโดยปกติ ทั้งในเรื่องความสนใจส่วนตัว หรือแม้แต่เรื่องวิชาชีพการงาน

2. Facebook Group นั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกว่า
หากเราต้องการทำการตลาดกับผู้บริโภคที่มีความสนใจที่ชัดเจน การทำการตลาดใน Facebook Group นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเสียเวลาเลือก Target เวลายิง Ads เหมือนกับการใช้ Facebook Fanpage เพราะคนที่ตัดสินใจ Join Group มาแล้วนั้นก็สามารถการันตีความสนใจได้แล้วส่วนหนึ่ง ในบางกรณีเป็นกรุ๊ปที่แบรนด์สร้างขึ้น เช่นกลุ่มคนรักกาแฟยี่ห้อ A หรือกลุ่มคนใช้รถยี่ห้อ B เราจะได้เห็นเสียงผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะนำไปสู่ข้อถัดไป

3. Facebook Group เป็นพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม
Facebook Group เป็นที่ๆ แบรนด์จะได้เห็นเสียงผู้บริโภคโดยตรง และสามารถส่งข่าวสารถึง Community ได้อย่างรวดเร็วอย่างเฉพาะกลุ่ม และสามารถ Feedback ได้ทันเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเคสที่ผู้บริโภคมีปัญหากับสินค้า การมีช่องทางที่แบรนด์เห็นและตอบรับได้ทันเวลา อาจจะดีกว่าการที่ข้อวิพากษ์วิจารณ์นั้นหลุดไปในพื้นที่สาธารณะกว่า และเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตในวงกว้าง

(หาหมอดู รีวิวหมอดู ต้องไปที่กรุ้ปนี้เลย ได้ความคิดเห็นจากคนเยอะมากๆ)

ดังนั้นแล้วจึงกล่าวได้ว่า เป็นที่แน่นอนว่าแทบทุกแบรนด์ในตลาดมักมี Facebook Page เป็นของตัวเอง แต่เมื่อเปรียบเทียบ Facebook Page กับ Facebook Group แล้ว คุณสมบัติข้างต้นได้ชี้ให้เห็นว่าการสร้าง Page นั้นเหมือนเป็นพื้นที่ทางธุรกิจที่ให้แบรนด์ได้สร้าง Content และเป็นฝ่ายส่งเสียงไปยังผู้บริโภคเป็นหลัก แต่กับ Facebook Group แล้วนั้น สิ่งนี้เปรียบเสมือนพื้นที่ที่ทำให้เกิด Community และสร้าง Discussion ต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องมากกว่า โดยภาพรวมแล้ว Facebook Group จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพของแบรนด์ในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่ง

ดังนั้นแล้ว SproutSocial และบล็อกด้านการตลาดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก จึงได้แนะนำข้อควรปฏิบัติที่จะทำให้ Facebook Group นั้นเป็นพื้นที่ Community ที่สร้างสรรค์ และเป็นพื้นที่การตลาดที่ดี โดยทาง UNBOX ได้หยิบยกมาบางข้อที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

สำหรับเจ้าของกลุ่ม หรือเจ้าของแบรนด์ที่สร้างกลุ่มนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการ มีวัตถุประสงค์ และกฏการจัดตั้งกลุ่มที่ชัดเจน เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีการควบคุมจากผู้ก่อตั้งกลุ่มและ Admin หลายๆ กลุ่มนั้นเกิดปัญหาตามมาค่อนมาก เช่นความไม่ชัดเจนในกฏการซื้อขายสินค้า หรือความไม่ชัดเจนในขอบเขตการแสดงความคิดเห็นของกลุ่ม ทำให้เกิดการขัดแย้งกันภายในสมาชิก นำมาซึ่งบรรยากาศกรุ๊ปที่ไม่พึงประสงค์  โดยกฎของกรุ๊ปนั้นอาจจะแสดงไว้ชัดเจนตั้งแต่การรับสมาชิกเข้ากลุ่ม และมีประกาศลายลักษณ์อักษรในประกาศของกลุ่มอีกทีหนึ่ง และต้องมี Admin คอยควบคุมและจัดการอย่างชัดเจน


นอกจากนั้นแล้ว ผู้สร้างกรุ๊ปเองยังต้องขยันหมั่นสร้าง Conversation ภายในกรุ๊ป ซึ่งรูปแบบ Content นั้นควรเป็นรูปแบบใดนั้นต้องอาศัยการทดลองและสังเกตว่า Content ประเภทใดนั้นเหมาะกับลักษณะ Community ของเรา แต่ที่แน่นอนก็คือทุกเว็บไซต์การตลาดต่างเห็นตรงกันว่า แบรนด์ควรหลีกเลี่ยงลักษณะเนื้อหาที่มีความฮาร์ดเซลล์ หรือขายของหนักมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกถูกยัดเยียด อึดอัด และไม่มีส่วนร่วมกับกลุ่มในที่สุด ดังนั้นต้องพึงระลึกไว้ว่าพื้นที่กรุ๊ปนั้นไม่ใช่พื้นที่เพื่อการขายของเสียอย่างเดียว แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ Community แลกเปลี่ยนพูดคุย เป็นพื้นที่ที่ทำให้เราสามารถเข้าหา และ Monitor ผู้บริโภคของเราได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย

(กรุ้ปนี้ดูแล้วหิวตลอดเวลา ‘สมาคมคนชอบกินราเมนแห่งประเทศไทย’ รวมร้านราเมนทั่วประเทศไทยจริงๆ ต้องมีแบรนด์เนียนเข้ามาขายของบ้างแน่นอน)

ในมุมของแบรนด์ต่างๆ ที่แสวงหาโอกาสเข้ามาทำการตลาด โปรโมทสินค้าภายในกรุ๊ป ต้องพึงระวังลักษณะของ Content ที่สื่อสาร เช่นหากใครได้จอยกรุ๊ป “งานบ้านที่รัก” หรืออีกหลายๆ กลุ่มในลักษณะ Lifestyle 1 จะเห็นโพสต์รีวิวสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนนั้นเราก็สามารถสัมผัสได้ว่าเป็นการรีวิวจากผู้ใช้จริง แต่มีไม่น้อยที่เราจับได้ว่าเป็นการขายของจากทางร้านค้า หรือทางแบรนด์ที่มีลักษณะการหลอกว่าเป็น Consumer Review เช่นการรีวิวที่มีคุณสมบัติของสินค้าครบถ้วนราวกับเป็นคำศัพท์จากทางแบรนด์ หรือมี Affiliate Link ที่ดูจงใจเนียนขายมากเกินไป สิ่งเหล่านี้มักสร้างความรู้สึกลบให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งหากมี Comment ใดที่จับผิดได้แล้วย่อมทำให้ผู้อ่านคนอื่นเห็นตามไปด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นการใช้ Content ที่มีความตรงไปตรงมา และจริงใจ มักจะสร้างผลดีสำหรับแบรนด์มากกว่า

Tips ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของการใช้ประโยชน์จาก Facebook Group ที่ทาง UNBOX หยิบเลือกมานำเสนอ หากนักการตลาดคนใดที่รู้สึกสนใจการลองทำการตลาดใน Facebook Group อันดับแรกขอแนะนำให้ลองไป Search Group ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของเรา แล้วลองสังเกต Conversation ของผู้บริโภคในนั้นก่อนนะคะ อย่าลืมว่า Content ที่ดี ต้องเกิดจากการสังเกตพฤติกรรม และเข้าใจลูกค้าเป็นหลักก่อนค่ะ 😊

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

Crisis Communication: เมื่อดราม่ามาเยือนได้ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่

สมัยนี้ใน 1 วัน มีประเด็นดราม่าในโลกโซเชียลเยอะเสียเหลือเกิน แต่จะทำอย่างไรดีถ้าประเด็นดราม่านั้นเป็นเรื่องของแบรนด์เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแบรนด์เราเป็นแบรนด์ที่ไม่ได้ใหญ่มาก ไม่ได้มีทีมประชาสัมพันธ์มาคอยช่วยเหลือ เราจะรับมือได้ไหม ต้องทำอย่างไร บทความนี้

Read More »
blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

6 ข้อต้องรู้ ในการสัมภาษณ์งานของน้องๆ จบใหม่

รอบที่แล้ว UNBOX BKK ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเขียน Resume ของน้องๆ จบใหม่ ขั้นตอนที่การสัมภาษณ์งาน เชื่อว่าถ้าน้องๆ ลองสังเกตตัวเอง

Read More »
Comodo SSL