คาดการณ์อนาคตของ Facebook ในปี 2021 กับ Dennis Yu

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดยคุณ Dennis Yu ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Blitz Metrics เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ Digital Marketer วันที่ 14 มกราคม 2021)

มาดูการคาดการณ์ของคุณ Dennis Yu กัน

ในปี 2021 Facebook จะต้องเจอกับจุดจบที่ไม่ต่างจากบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ให้บริการระบบโทรศัพท์บ้านที่เก่าแก่อย่าง Ma Bell (โดยที่ Instagram และ WhatsApp จะแยกตัวออกจาก Facebook อย่างสิ้นเชิง) ซึ่งอาจทำให้เหล่าผู้ซื้อโฆษณาไม่ปลื้มกับสิ่งนี้ และส่งผลให้พวกเขาหันไปซบอกแพลตฟอร์มอย่าง TikTok, Snapchat, YouTube หรือคนดีคนเดิมอย่าง SEO (Search Engine Optimization)

ถึงเวลาที่นักการตลาดที่ฉลาดๆ จะงัดเอากลยุทธ์การสื่อสารด้วยคอนเทนต์แบบนำของเก่ามาเล่าใหม่ให้น่าฟังขึ้น ด้วยวิธีการอันชาญฉลาดเพียงไม่กี่วิธี ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังว่ามีวิธีใดบ้าง

Facebook เสียค่าธรรมเนียมทางกฎหมายไปกว่า 10,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 แต่นั่นยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัดส่วนรายได้จากค่าโฆษณากว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่ Facebook ได้ จากรายได้สุทธิกว่า 18,400 ล้านเหรียญสหรัฐของ Facebook ซึ่งยังถือว่า Facebook ยังคงแข็งแกร่ง ไร้เทียมทาน และหาตัวจับยาก

แต่ในตอนนี้ไม่ใช่อีกต่อไป

ด้วยความบกพร่องในการจัดการกับปัญหาที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณในการตรวจสอบดูแลเนื้อหาบน Facebook ทำให้ Facebook เองถูกรัฐบาลสหรัฐปฏิบัติเยี่ยงสื่อ (อย่างสำนักพิมพ์ The New York Times) ราวกับ Facebook ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยี ที่คนสามารถใช้พื้นที่ในการสร้างและบริหารจัดการคอนเทนต์เพื่อสื่อสารต่อสาธารณชนได้ (ลักษณะเหมือนกับ WordPress)

ในปี 2021 ผมว่าทุกอย่างจะล้มไม่เป็นท่า แม่แต่ผู้ที่พูดว่า “ท่านวุฒิสมาชิกครับ Facebook ก็ขายโฆษณานะครับ” เองก็ไม่สามารถทำให้แบรนด์อย่าง Apple ดูแย่ในสายตาประชาชนได้ และก็ไม่ได้ทำให้ Facebook มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นผู้ที่ปกป้องธุรกิจขนาดเล็กแต่อย่างใด ด้าน Sheryl Sandberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายปฏิบัติการของ Facebook เองก็ยืนยันว่าองค์กรจะใช้ระบบยิงโฆษณาอัตโนมัติแทนการจ้างคนมาเพื่อให้บริการยิงโฆษณาบน Facebook

นักการตลาดเองก็จะนำคอนเทนต์ที่ใช้สื่อสารบน Facebook มาเล่าใหม่บนช่องทางอื่นๆ ซึ่งโฆษณาวิดีโอสั้นแบบแนวตั้ง หรือ Short-Form Vertical Video ก็ยังคงได้รับความนิยมเช่นเดิม แม้บนแพลตฟอร์ม YouTube เองก็ตาม (Shorts เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอตอนสั้นของ YouTube)

เพื่อพิสูจน์ว่าการคาดคะเนของผมจะเป็นจริง ผมให้ผู้ช่วยบนโลกออนไลน์เปลี่ยนโพสต์บน Facebook ให้เป็นโพสต์บนบล็อก ผลปรากฎว่ามีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นถึง 7,000 คนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยที่ผมไม่ต้องทำอะไรเลย ตอนนี้ในบล็อกของผมมีบทความ 1,488 หน้า

คุณใช้ Google ค้นหาแล้วเจอโพสต์บน Facebook ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? โอกาสที่จะเจอผลการค้นหาด้วย Google บนฟีดข่าวของ Facebook เท่ากับโอกาสที่จะเห็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Honda ขับรถ Toyota นั่นแหละ


(UNBOX นำ Blog มาแชร์ลงใน Facebook Page ตลอด)

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์หนึ่ง: นำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียมาโพสต์บนเว็บไซต์ (และนำคอนเทนต์จากเว็บไซต์มาโพสต์บนโซเชียลมีเดีย)

โลกของการใช้เครื่องมือในการค้นหากับโลกโซเชียลมันเชื่อมถึงกันได้ ดังนั้นเคล็ด (ไม่) ลับเบอร์หนึ่งคือการคัดลอกคอนเทนต์จากโลกหนึ่งมาโพสต์ยังอีกโลกหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้แบบอัตโนมัติด้วยการใช้เครื่องมือเสริมของ WordPress แต่สำหรับผมหัวข้อของบทความเป็นสิ่งที่ผมต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพราะมันมีความสำคัญพอๆ กับตัวบทความเอง

กลยุทธ์นี้ต่างจากการโหนกระแสเทรนด์ที่กำลังมาแรงที่ปรากฎเป็นข่าวบนแพลตฟอร์ม Reddit แล้วนำมาโพสต์บน Facebook หรือขายคอนเทนต์ข่าวนั้นเสียเอง

เพราะมันคือคอนเทนต์ของคุณเอง จึงไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกลงโทษเนื่องจากเป็นเนื้อหาซ้ำซ้อน และไม่เกิดปัญหาเว็บไซต์ไม่ถูกนำไปแสดงในหน้าค้นหาของ Google จำไว้ว่าเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ที่ค้นหาผ่าน Google แล้วเจอได้ง่ายจะไม่ถูกคัดลอกไป และเนื้อหาเหล่านั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่โพสต์บนบล็อกและหน้าเว็บ โปรแกรมค้นหาฉลาดพอที่จะเปลี่ยนวิดีโอให้เป็นตัวอักษรได้ (ตัวอย่างเช่นการเพิ่มคำบรรยายอัตโนมัติของ YouTube)

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์สอง: แชร์ข้ามโพสต์ไปยังแพลตฟอร์ม Twitter พื้นที่สาธารณะบนโลกโซเชียลที่ทุกคนมารวมตัวกัน

โดยปกติเมื่อโพสต์บนช่องทางโซเชียลต่างๆ ระบบก็จะโพสต์เนื้อหานั้นๆ บน Twitter โดยอัตโนมัติไปด้วย ผมเองชอบ Instagram มาก เพราะผมสามารถข้ามโพสต์ไปยัง Facebook และ Twitter ในเวลาเดียวกัน และสามารถ Boost Post บน 3 แหล่งนี้ได้เลย!

สาวก Twitter คงหงุดหงิดกับสิ่งนี้ (นักการตลาดไม่เคยทำตามทฤษฎีสักอย่าง ผมรู้) แต่ดูทวีตกว่า 14,000 อันในบัญชีของผมสิ…

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์สาม: แปลงเสียงพูดจากวิดีโอเป็นโพสต์บนบล็อกเลย
ธุรกิจและแบรนด์สามารถถอดเสียงพูดบนเว็บไซต์ rev.com, บริการถอดความอัตโนมัติอย่าง otter.ai ที่ทำงานร่วมกับ Frame, Descript หรือเครื่องมือใดก็ได้ที่ถนัด ส่วนตัวผมชอบ Descript เพราะมีฟีเจอร์อย่าง Overdub ที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขหรือเพิ่มอะไรลงไปในไฟล์เสียงของวิดีโอได้

วิดีโอที่โพสต์ (Social Video) ผ่านทาง Facebook (ไม่ใช่วิดีโอบน Snapchat, YouTube หรือ Instagram) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความหยามใจกับกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐฯ มากเกินไป ทำให้สุดท้าย Facebook ถูกควบคุมดูแลอย่างเข้มข้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในที่สุด

นักการตลาดที่อ่านเกมส์ออกอย่างเราๆ ก็คงไม่อยากเสี่ยงเอาคอนเทนต์ทุกอย่างลงไปกับ Facebook เพียงแค่ช่องทางเดียว เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น เราอาจเสียสิ่งที่ลงทุนลงแรงไปทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือการนำคอนเทนต์เก่ามาเล่าใหม่ โดยสื่อสารผ่านช่องทางอื่นๆ แทน ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นการใช้เครื่องมือทางการตลาดในการยิงโฆษณาแบบอัตโนมัติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนที่จะประสบความสำเร็จได้จริงๆ คือคนที่ทำโฆษณาคลิปสั้นแบบแนวตั้ง ที่มีการปรับแต่งวิดีโอหลังยิงโฆษณา (VAs edit) การแชร์ข้ามโพสต์ พร้อมการบูสท์โพสต์เพื่อเพิ่มยอดขาย

การโฆษณาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับฝีมือของนักการตลาดอย่างคุณแล้ว การยิง Content ผ่านระบบโฆษณาอัตโนมัติไม่ใช่แค่เพียงการตัดวิดีโอแบบ Long-Form ความยาว 30 นาที (สำหรับอัพโหลดบน YouTube) ให้เป็นวิดีโอ 1 นาที ด้วยอัตราส่วน 4:3 สำหรับโพสต์บน Facebook, วิดีโอลงสตอรี่บน Instagram, Quote Cards บน Twitter หรือแม้แต่บทความบนบล็อกของคุณก็ตาม

ณ ตอนนี้ระบบการยิงโฆษณาอัตโนมัติยังไม่สามารถพาดหัวหรือสร้างเนื้อหาโฆษณาให้คุณได้ ฉะนั้นขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเตรียมตัวกันมากแค่ไหน สำหรับ Facebook ที่จะแยกตัวออกจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ตามคำคาดการณ์ที่ผมได้บอกไว้ และคุณเองก็สามารถใช้เคล็ด (ไม่) ลับที่ผมได้บอก สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมในอนาคต

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Nisara Sittatikarnvech

การฟื้นคืนชีพของ ‘ตู้ถ่ายสติกเกอร์ เทรนด์สุดฮิตที่เราคิดถึงจากยุค 90

ในสมัยที่สยามสแควร์ยังคงมีน้ำพุเซ็นเตอร์พอยต์ และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ที่ยังคงถูกเรียกในชื่อเดิมว่า “World Trade Center” ท่ามกลางวัฒนธรรมของกลุ่มวัยรุ่นที่เกิดขึ้นมากมายในย่านนี้ เคยมีเทรนด์หนึ่งที่ฮิตแซงแถวมากๆ ในขณะนั้น นั่นก็คือ ‘ตู้ถ่ายสติกเกอร์’

Read More »
blog
Unbox Team

วิเคราะห์ดราม่า “ซงจีอา”: บทเรียนจาก Consumer เพื่อ Brand และ Influencer

จากเรื่องดราม่าของ YouTuber สาวสวยจากรายการ Single’s Inferno ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีการใช้สินค้าไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ “แบรนด์เนมปลอม” ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ออกอากาศรายการ

Read More »
blog
Pichapen Sorum

อัพเกรดเนื้อหาเดิมในเว็ปไซต์อย่างเป็นระบบ: ทำอย่างไร และเมื่อใดที่ควรทำ?

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Chris Gregory เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ Marketing Land วันที่ 24 มกราคม 2020)

Read More »
Comodo SSL