ตามหาความดื่มด่ำในการทำงาน “Flow State of Mind”

เวลาคุณทำงาน หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเล่นดนตรี เล่นกีฬา หรือทำงานอดิเรกอื่นๆ คุณเคยมีความรู้สึกเหล่านี้หรือไม่

  1. ดื่มด่ำกับกิจกรรมนั้นๆ และมีสมาธิมาก จนเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว
  2. ทำได้เรื่อยๆ ไม่รู้สึกเบื่อ แต่ก็ไม่รู้สึกง่ายหรือยากจนเกินไป
  3. รู้สึกสนุก มีความสุขที่ได้ทำ

หากมีความรู้สึกดังกล่าว ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “Flow State” หรือถ้าแปลเป็นไทยอย่างง่ายนั่นก็คือภาวะลื่นไหล (ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยนั้นออกจะแปลกสักหน่อย ดังนั้นต่อไปขอใช้คำว่า Flow State แล้วกันนะคะ) เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาโดย Mihaly Csíkszentmihalyi ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ Flow state ไว้ตั้งแต่ช่วงปี 1990 ว่า

“The best moments in our lives are not the passive, receptive, relaxing times… The best moments usually occur if a person’s body or mind is stretched to its limits in a voluntary effort to accomplish something difficult and worthwhile.”

“ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของเราไม่ใช่ช่วงเวลาที่เราอยู่เฉยๆ อย่างสุขสบาย แต่มักเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจของเราได้พยายามทำในสิ่งที่อยากทำให้สำเร็จ โดยรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีความยาก และคุ้มค่าที่ได้ทำ”

(ภาวะ Flow State เกิดจากความสามารถของเรา และความท้าทายของกิจกรรมอยู่ในจุดที่สูงที่สุดพอดีกัน ขอบคุณภาพจาก Medium.com)

ในทางทฤษฎี Flow State มักเกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานศิลปะสร้างสรรค์ เช่นการเล่นดนตรี การวาดภาพ ดังเช่นที่เราชอบเห็นศิลปินเก็บตัวเงียบอยู่เพียงคนเดียวเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Flow State สามารถเกิดได้ในทุกๆกิจกรรมชีวิต ตั้งแต่การเรียน การทำงานในออฟฟิศ การเล่นกีฬา รวมไปถึงกิจกรรมพักผ่อนอย่างการปลูกต้นไม้ ชงกาแฟ หรือการทำงานบ้านก็เป็นได้

(Flow State เกิดได้ในทุกๆกิจกรรมของชีวิต แม้แต่งานอดิเรกเช่นการทำสวน)

การค้นพบ Flow state ของตนเองนั้นมีข้อดีคือทำให้เกิดความสุข แรงบันดาลใจในการทำงาน การเรียนรู้ทักษะใหม่ และการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้จนประสบผลสำเร็จ รวมไปถึงการเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือ Self-Esteem จากความมั่นใจในการบรรลุเป้าหมายต่างๆ ดังนั้นหากใครยากลองค้นหา Flow State ของตนเองกับกิจกรรมใดๆก็ตาม สามารถลองทำได้โดยเริ่มต้นได้ดังนี้ (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Verywellmind.com และบทความใน medium.com)

1. สำรวจก่อนว่าเราพอจะมีทักษะในการทำสิ่งนั้นสำเร็จ
หลักการในการเกิด Flow State คือทักษะที่เรามีกับเป้าหมายของเรานั้นต้องสามารถไปในทิศทางเดียวกันได้ เช่น เราต้องมีความรู้ในด้านการเล่นหมากรุกอยู่บ้าง เพื่อเล่นให้ชนะคู่ต่อสู้ หรือการวิ่งมาราธอนให้ถึงเป้าหมายนั้นก็ต้องมีการฝึกซ้อมมาอย่างเพียงพออยู่บ้าง

2. สร้างเป้าหมายที่ชัดเจน
เคล็ดลับในการไปให้ถึง Flow State ที่สำคัญมากคือต้องมองภาพชิ้นงานที่สำเร็จปลายทาง ตัวอย่างเช่นการแข่งขันกีฬาและการเห็นภาพชัยชนะที่เป็นรูปธรรมนั้นจะทำให้เราไปถึงภาวะ Flow State ได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ต้องระวังว่าการให้ความสำคัญที่เป้าหมายมากเกินไปนั้นอาจจะนำมาซึ่งความตึงเครียดที่มากเกินไป การให้ความสำคัญกับกระบวนการ หรือการกระทำ ณ เวลาปัจจุบันก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เช่นกัน และข้อสำคัญ อย่าทำหลายๆ อย่างเวลาเดียวกันหรือ Multitasking มากจนเกินไป การพยายามโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เสร็จสิ้น จะทำให้เกิดภาวะ Flow ที่ดีกว่า

3. ต้องกำจัดสิ่งรบกวนต่างๆ
ผลการวิจัยเผยว่าในการเข้าสู่ภาวะ Flow State แต่ละครั้งนั้น เราอาจต้องใช้เวลาเกือบ 10-15 นาทีในการมีสมาธิ ดังนั้นหากมีสิ่งรบกวนที่ทำให้เราหลุดจากภาวะ Flow ไป การดึงกลับมานั้นย่อมใช้เวลามากกว่าช่วงเริ่มต้น ซึ่งอาจจะใช้เวลาร่วม 25 นาทีทีเดียว ดังนั้นจึงควรกำจัดสิ่งรบกวนประสาทสัมผัสของเรา เช่นการปิด Notification ต่างๆ ในหน้าจอคอมพิวเจอร์ โทรศัพท์มือถือ ในด้านการฟังเพลงนั้นต้องพยายามหลีกเลี่ยงเปิดเพลงที่แย่งสมาธิของเรามากเกินไป โดยเพลงที่มีแนวโน้มจะทำให้เรามีสมาธิได้ดีนั้น คือเพลงบรรเลงที่มีทำนองซ้ำๆ เช่นเพลง Classic หรือ Trance แล้วแต่ความชินของเรา เพราะการฟังเพลงที่เราชินหูนั้นจะทำให้สมองไม่ต้องเปลืองพลังงานกับการทำความคุ้นเคยเพลงใหม่ ก็จะยิ่งทำให้เราโฟกัสกับงานตรงหน้าได้มากขึ้น

4. เพิ่มความท้าทายเล็กๆน้อยๆ ในตัวงาน
ตามที่ได้กล่าวว่า Flow State นั้นเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ง่ายจนน่าเบื่อ แต่พอมีความท้าทายให้ได้รู้สึกอยากเอาชนะ ผ่านด่านไปได้ จนเกิดเป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ โดยอาจเป็นระดับความท้าทายที่อยู่เหนือความสามารถปกติของเราเล็กน้อย จะส่งเสริมการเกิด Flow State ได้อย่างดีที่สุด

5. เตรียมร่างกายให้พร้อม
ตำราบางเล่มจะแนะนำให้ดื่มคาเฟอีนแต่พอประมาณ (ประมาณ 200 Milligrams หรือกาแฟ 2 แก้ว) จะส่งผลดีต่อการโฟกัสมากขึ้น ซึ่งในเรื่องการดื่มกาแฟนั้น น่าจะเป็นลักษณะความคุ้นชินแต่ละคนที่เป็น Routine Life แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรดื่มเยอะมากเกินไป (มากกว่า 400 Milligrams) เพราะอาจทำให้เกิดความตึงเครียดจนไม่สามารถโฟกัสได้ค่ะ แต่ที่แน่นอน ตำราหลายเล่มต่างแนะนำให้เราดื่มน้ำเพื่อเพิ่มเติมพลังงานแก่สมอง และส่งผลดีต่อการทำงานของร่างกายโดยรวมค่ะ

หากสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ Flow state เพิ่มเติม แต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือเต็มๆต้นฉบับ ทาง UNBOX ขอแนะนำให้ผู้อ่านลองเข้าไปฟังคลิป TED Talk สั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ของเจ้าของทฤษฎี คุณ Mihaly Csíkszentmihalyi ขอให้ทุกท่านได้ทดลองและมีความสุขกับ Flow state ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน เรื่องเรียน หรือกิจกรรมอื่นๆกันนะคะ 😊

Contributor

Jinsiree Palakawongsa Na Ayudhya

Full-time lecturer at a school of communication arts and freelance event planner. Living with a strong passion for experiential and event marketing. Her happiness is all about making event audiences smile and playing with her cats.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Karn Triamsiriworakul

ว่าด้วย เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

หลายบริษัทในประเทศไทยกำลังเข็น “ธุรกิจเครื่องจำหน่ายของอัตโนมัติ” กันอยู่ เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้สึกเหมือนกันว่าหลายปีนี้เราเจอเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ตามที่ต่างๆ มากขึ้น ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะมีหลายบริษัทกำลังสนใจตลาดนี้ ทั้งบริษัทที่อยู่ในวงการเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติมาหลายสิบปี

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

10 ภาพยนตร์ที่จุดประกายการทำงานและธุรกิจ

ภาพยนตร์หรือซี่รี่ส์เหล่านี้ที่ทีมงาน UNBOX BKK ได้มีโอกาสรับชมแล้วได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการทำงานมา จึงอยากขอนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นการส่งมอบคบเพลิงกำลังใจให้กับทุกคนต่อๆ ไปครับ 1. Itaewon Class (เกาหลี

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

Mood Tone และ Branding

Mood & Tone เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Branding เพราะแบรนด์ไม่ใช่คน ไม่ได้มีรูปพรรณสัณฐาน จึงต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการสร้างแบรนด์ให้มีจุดเด่น หรือเกิด Character

Read More »
Comodo SSL