กลยุทธขายขำ ให้คนจดจำแบรนด์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความตลกขำขัน” นั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนใจในโฆษณาหรือสินค้าของเรา โดยอาจจะขอกล่าวเข้าข้างคนไทยกันเองสักหน่อยว่าคนไทยนั้นมี Sense of Humor หรืออารมณ์ขันยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาติใดในโลก ซึ่งสะท้อนออกมาในโฆษณาหลายชิ้นที่ประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลก และทำได้เยี่ยมยอดอย่างไม่แพ้โฆษณาในสายซึ้ง Feel good หรือสร้างความจดจำในรูปแบบอื่นๆ

(โฆษณา ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ก โฆษณาดังสายตลกที่คน Gen Y เป็นต้นมาน่าจะจดจำได้ และทำให้คนทั่วไปในสมัยนั้นรู้จักเหล้าแบล็กแคท)

ทำไมความตลกขำขันนั้นถึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกดี? ทั้งนี้เป็นเพราะนอกจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ความตลกขำขันยังช่วยลดความตึงเครียด และบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดความดันได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อคนอารมณ์ดีแล้วจึงเกิดความเชื่อมต่อทางอารมณ์ในเชิงบวกกับตราสินค้า ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเปิดใจให้สินค้าหรือบริการของเรามากขึ้นเป็นพิเศษ

แต่เราจะสร้างความขำขันในงานโฆษณาของเราได้อย่างไรนั้น บทความ 5 Ways to Use Humor In Advertising ของ Judah White ได้กล่าวไว้ว่าวิธีสร้างอารมณ์ขันในงานโฆษณานั้น สามารถทำได้เบื้องต้นด้วย 5 วิธีดังต่อไปนี้

1. สร้างความประหลาดใจ (Surprise)
เป็นหลักทางจิตวิทยา และเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้นในการสร้างความตลก เพราะคนมักรู้สึกขำขันไปกับสิ่งที่พวกเขาไม่ได้คาดหวังจะเจอมาก่อน ตัวอย่างเช่น เห็นศิลปินดาราทำในสิ่งที่ไม่คาดคิด หรือเห็นไอเดียใหม่ๆที่ไม่คิดว่าสิ่งบางสิ่งจะเข้ากันได้ หรือเนื้อเรื่องที่พลิกมุมไปอย่างไม่สามารถคาดเดาได้

2. ใช้คาแรคเตอร์ ของคน สัตว์ หรือสิ่งของ
บุคลิกคาแรคเตอร์บางอย่างนั้นสามารถสื่อให้ถึงอารมณ์เชิงบวกได้ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว ตัวอย่างที่ทาง UNBOX เคยนำเสนอนั้นคือแบรนด์สินค้าเนื้อหมูแดดเดียวตราอีเหมียวปีนตู้กับข้าว ที่ใช้เรื่องราวของเจ้าเหมียวลายสลิดตัวหนึ่ง บอกเล่าเรื่องราวตลกๆผ่าน Graphic Design ให้แบรนด์มีความน่าสนใจขึ้น

(ตัวอย่างชิ้นงานจากเพจ อีเหมียวปีนตู้กับข้าว ติดตามได้เพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/Emeow93)

3. ใช้การเล่นคำ
ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการสร้างความตลกพื้นฐาน และต้องยอมรับว่าภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่มีลูกเล่นทางภาษาที่สร้างความตลกขำขันได้มาก หรือแม้แต่การเล่นคำผวน ก็เป็นที่นิยมในการสร้างความจดจำในหลายๆชิ้นงาน

(ตัวโฆษณา อินได้แก้ แอร์ไดกิ้น ชุดที่ณเดชน์เป็นพรีเซนเตอร์นั้น แม้ในระยะแรกที่ออกมาจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกสะดุดใจเล็กน้อย แต่ก็สร้างความจดจำและทำให้นึกถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี)

(โฆษณาอาหารเสริม Verana Sure ที่ได้รับรางวัลระดับโลก ใช้วิธีการเล่นคำเกี่ยวกับความ “มัน” ที่สามารถไม่สามารถขนผ่าน หรือเข้าไปในร่างกายได้)

4. สร้างความโอเวอร์เกินจริง
การสร้างความโอเวอร์เกินจริงนั้นทำงานร่วมกับความรู้สึกประหลาดใจ เหนือความคาดหมาย เพราะผู้บริโภคมักรู้สึกตื่นเต้นกับการเห็นอะไรที่ผิดแปลกไปนอกจากชีวิตประจำวัน และทำให้จดจำสิ่งนั้นได้ง่ายกว่าการเห็นสิ่งเดิมๆในชีวิตประจำวัน

(ตัวอย่างโฆษณากาแฟ Nature Gift แสดงถึงภาพการดื่มกาแฟที่ดีต่อการรักษาหุ่น จนสามารถเดินได้อย่างมั่นใจในทุกท่วงท่า ซึ่งเป็นโฆษณาที่ได้รับความนิยมและนำไปแสดงเป็นมุกตลกสนุกสนานต่อกันในช่วงนั้น)
(ตัวอย่างโฆษณาแชมพูสระผมที่ทางบทความ 5 Ways to Use Humor In Advertising ได้แนะนำไว้ และเป็นโฆษณาที่ได้รับการอ้างถึงในการศึกษาวิชาการโฆษณาในหลายๆคอร์ส)

5. ใช้การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบที่สร้างความขำขันอย่างเห็นภาพได้มากที่สุดนั้นอาจเป็นการหยอกแกล้งกันเล็กๆน้อยๆระหว่างแบรนด์ อย่างกรณีศึกษาที่เราจะเห็นเป็นเคสระดับโลกบ่อยๆนั้น ได้แก่ศึกโฆษณาชิงไหวชิงพริบระหว่าง McDonald’s กับ Burger King และ Mercedes-Benz กับ BMW ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใส่มุกตลกขำขันเข้าไปในชิ้นงานโฆษณานั้น ก็ต้องพึงระวังว่าเป็นมุกที่มีความเข้ากับแบรนด์ของเรา และจุดที่ทำให้คนขำนั้นสร้างความจดจำเชื่อมโยงกับสินค้าได้อย่างแท้จริง มิเช่นนั้นผู้บริโภคอาจรู้สึกขำ แตไม่ได้จดจำแบรนด์ของเราในระยะยาวอย่างแท้จริงก็เป็นได้

(ตัวอย่างโฆษณา Soken เครื่องเล่น DVD ที่เล่นความตลกขำขันกับลักษณะของเสียง DVD กระตุก ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมโยงความตลกและคุณสมบัติเด่นของสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม)

ทีมงาน UNBOX หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ไอเดียเกี่ยวกับการทำโฆษณา หรือการทำคอนเท้นต์ที่สอดแทกความตลกขำขันเข้าไปบ้างนะคะ แต่ทั้งนี้แล้วอย่าลืมตัวตนแบรนด์ของเราว่าเหมาะสมกับความขำขันที่ระดับไหน บางครั้งการทำให้ผู้บริโภคพออมยิ้ม Feel good ได้เล็กน้อย ก็อาจจะเพียงพอสำหรับตัวตนแบรนด์ของเราแล้วค่ะ

Contributor

Jinsiree Palakawongsa Na Ayudhya

Full-time lecturer at a school of communication arts and freelance event planner. Living with a strong passion for experiential and event marketing. Her happiness is all about making event audiences smile and playing with her cats.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Supat Imyoo

ความสำคัญของ First-party Data

เริ่มที่การทำความเข้าใจก่อนว่าประเภทของข้อมูล (Data) ที่เรามีกันอยู่ในโลกออนไลน์นั้นมี 3 กลุ่มใหญ่นั่นคือ: First-party data Second-party data Third-party

Read More »
blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

Virtual Experiential Marketing (VEM) 101 ใครยังไม่รู้จักเชิญทางนี้

ใครที่ได้เรียนวิชาทางด้านการสื่อสารการตลาด คงคุ้นเคยกับคำว่า Experiential Marketing หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าการตลาดเชิงประสบการณ์ โดยมีความหมายว่าเป็นการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความทรงจำ อารมณ์

Read More »
Comodo SSL