นับเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้วนับตั้งแต่เคสแรกที่มนุษย์เรากำลังโดนโจมตีด้วยมรสุมโรคระบาดไวรัส Corona หรือที่เราเรียกกันว่า COVID-19 ซึ่งไวรัสวายร้ายตัวนี้ทำให้การใช้ชีวิตของคนทั้งโลกเปลี่ยนไปในหลากหลายรูปแบบ เช่น ต้องรักษาความสะอาดกันมากขึ้น ล้างมือกันบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัส ตา จมูก และปาก ที่สำคัญคือการทำ Social Distancing หรือแปลง่ายๆอย่างตรงตัวก็คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม จุดนี้เองทำให้มีการปรับเปลี่ยนของการใช้ชีวิตประจำวันและผู้คนหันมาติดต่อและโต้ตอบกันผ่านช่องทาง Online มากยิ่งขึ้น
วันนี้ UNBOX BKK จะมาเล่าถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นใหม่ และเทรนด์ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซักพักแล้วแต่จะกลายเป็น New Normal สำหรับผู้บริโภคและธุรกิจหลายๆรูปแบบให้รับทราบ มีทั้งหมดด้วยกันถึง 10 เทรนด์ ตัวอย่างบางข้ออาจจะยังไกลตัวสำหรับคนไทย แต่เราสามารถลองปรับตัวเป็นผู้ใช้คนแรกๆได้เช่นกัน
(Source: https://artsandculture.google.com/)
เทรนด์ที่ 1: Virtual Experience Economy
อ้างอิงจากคำกล่าวของคุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ในงาน Thailand 2019 จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ช่วงปลายปี 2561 เธอได้กล่าวไว้ว่ามีการปรับใช้ Experience Economy หมายถึงเศรษฐกิจที่นำโดยการให้ประสบการณ์กับคนที่มารับบริการ แต่หลังจากที่เราต้องมีการ Social Distancing มากยิ่งขึ้น ทำให้รูปแบบเศรษฐกิจแบบ Offline ต้องปรับตัวเป็น Virtual Experience Economy นั่นคือการประกอบร่างกันระหว่างโลกเสมือนจริงกับการสัมผัสประสบการณ์แนวใหม่ ให้ผู้บริโภคสามารถรับประสบการณ์แบบที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น Google Arts & Culture ที่ทำให้เราสามารถเข้าไปดูการแสดงบัลเล่ต์ที่ Palais Garnier ที่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ในรูปแบบ 360° องศา หรือแม้กระทั่ง Street View ด้านในพระราชวัง Versailles อีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและเข้าถึงโลกเสมือนจริงนั้นเช่น เกมส์ Assassin’s Creed ที่ได้เพิ่มฟีเจอร์ “Discovery Tour” ทำให้ผู้เล่นได้เข้าไปลองสัมผัสและใช้ชีวิตจริงในยุคอียิปต์โบราณ ทั้งนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญในประเทศอียิปต์อีกด้วย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
เราอาจจะต้องเจอกับข้อกำหนดของเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) หรือ AR (Augmented Reality) มากมายที่จะเกิดขึ้นกับการนำมาปรับใช้ ตัวเทคโนโลยีก็ยังสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์เรามีส่วนร่วมในประสบการณ์นั้น สิ่งที่ท้าทายกว่าคือ ต้องอย่ามองว่าประสบการณ์ดิจิทัลเป็นแค่เครื่องมือความบันเทิง แต่ให้มองว่าสิ่งนี้จะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค แล้วมองต่อว่าเราจะสร้าง Virtual Experience อย่างไร ให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าและอยากที่จะแชร์ต่อ ให้ได้เท่ากับในโลกแห่งความเป็นจริง
เทรนด์ที่ 2: Shopstreaming หรือ Live Commerce
เนื่องจากเทรนด์นี้มาจาก Source ฝั่งตะวันตก ทำให้การ Livestreaming + E-commerce เป็นอะไรที่ยังใหม่สำหรับโลกฝั่งตะวันตกอยู่ แต่คนเอเซียอย่างพวกเราอาจจะคุ้นเคยกับสิ่งนี้บางแล้ว จนมองว่าทุกวันนี้การ Live ขายของเป็น New Normal ไปแล้ว ที่มาของการไลฟ์ขายของนั้นมาจากหนึ่งใน E-commerce ยักษ์ใหญ่ของจีน นั้นก็คือ Taobao โดยในช่วงเดือนเมษายน 2019 Taobao เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่มีหน้าร้านออนไลน์กับเขามาไลฟ์ขายของ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มรายได้ ของไทยเรา E-commerce เจ้าใหญ่ๆอย่าง Shopee และ Lazada แน่นอนว่าก็มีการเพิ่มฟังก์ชั่น Live นี้ด้วยเหมือนกัน จากการคาดการณ์ของ เอ็มเซเว่นทีน ผู้ให้บริการด้านไลฟ์สดและโลจิสติกส์ คาดว่าปี 2020 นี้การไลฟ์สดจะทำให้เกิดมูลค่าของการตลาดพุ่งขึ้นสูงกว่า 200,000 ล้านบาทเลยทีเดียว!
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ไม่ใช่แค่การไลฟ์ขายของไปวันๆแบบตามมีตามเกิดที่จะทำให้เราขายของได้เท่านั้น แต่จะต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าเข้าไปด้วย สิ่งที่ท้าทายคือนักการตลาดดิจิทัลจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะและถูกใจผู้บริโภคได้หรือไม่ ธุรกิจต่างๆอาจจะต้องลองเปลี่ยนรูปแบบการทำการตลาดเพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายลูกค้าของเรามากที่สุด เช่นการนำ Micro Influencer เข้ามาใช้ในการช่วยไลฟ์ แต่อย่างไรก็ตาม UNBOX BKK เห็นว่าเทรนด์นี้ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจเสมอไป
เทรนด์ที่ 3: Open Source Solutions
Open Source Solutions หมายความว่าการที่หลายๆฝ่ายร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยากและเป็นที่ต้องการของคนหมู่มาก เพื่อความยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจและความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละบริษัทหรือองค์กร ทำให้ผู้คนรู้สึกชื่นชมและทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ เป็นการสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจคน
ขอยกตัวอย่างเคส Ford, UBER และ LYFT จริงๆแล้วทั้ง 3 เจ้านี้ถือว่าเป็นคู่แข่งกันในธุรกิจเชิงยานพาหนะ แต่ทั้ง 3 บริษัทกลับร่วมมือกันสร้างโปรเจคในรูปแบบแพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อว่า SharedStreets เป็นโปรเจคอิสระไม่แสวงผลกำไร โดยได้รับเงินลงทุนโดยกลุ่มผู้ใจบุญจาก Bloomberg โปรเจค SharedStreets นี้เป็นแหล่ง Open Data ให้ผู้ที่ทำ Startup หรือผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจารจรในเมือง ได้รับทราบข้อมูลความหนาแน่นของการจราจรในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงเส้นทางที่แม่นยำที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดระหว่างจุดเริ่มต้นไปถึงปลายทาง เพื่อให้เหล่า Application Developer หรือ Web Developer นำข้อมูลเหล่านี้ไป Plug-in และต่อยอดกับธุรกิจของตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ลองกลับมาถามตัวเองว่า ธุรกิจของเราสามารถทำอะไรในวันนี้ที่ตัวเราเองจะสามารถเล่าต่อได้ในอีก 50 ปีว่าสามารถช่วยเหลือสังคมในด้านใดได้บ้าง การทำเพื่อสังคมอาจจะมองว่าเป็นเรื่องรอง แต่หากเราทำได้นั้น สังคมของเราจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้นแน่นอน
(source: https://www.edie.net/news/6/Stella-McCartney-opens-London-store-with–purest-air-in-the-capital-/)
เทรนด์ที่ 4: Ambient Wellness
การสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดถูกสุขอนามัยให้กับลูกค้าช่วงเวลานี้เป็นโมเมนต์ที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะหยิบเจลล้างมือขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดตลอดเวลา หรือบางสถานที่ อย่างห้าง Em Quartier ที่ยกระดับด้วยการสร้าง EM Auto Sanitizing Gate ถึงจะโดนแฉว่าไม่ได้รับการรับรองจาก ECDC (หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อของยุโรป) แต่ก็ทำให้เห็นถึงความใส่ใจในตัวผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการสถานที่ และมีผู้ให้ความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างสุดชิคระดับ World Class ก็คงเป็น Flagship Store ของ Stella McCartney ในกรุงลอนดอน ที่เพิ่มประสบการณ์ในการช้อปปิ้งโดยการติดตั้งเครื่องกรอกอากาศที่สามารถผลิตอากาศบริสุทธิ์ อีกทั้งยังกำจัดมลพิษได้มากถึง 95% สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของแบรนด์ที่ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมและความยั่งยืน
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
เรื่องสุขอนามัยเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ เราสามารถยกมาตรฐานของสินค้าและบริการของเราได้ หากเราพิจารณาไว้ก่อนเลยว่าสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ ถึงแม้จะไม่มีสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แต่การมีมาตรการความสะอาดและความปลอดภัยที่สูง ก็จะทำให้ลูกค้าวางใจในสินค้าและการบริการของเราแน่นอน
(source: https://www.neon.life/)
เทรนด์ที่ 5: Virtual Companion
จากเหตุการณ์ที่เกิดในตอนนี้ ทำให้รัฐบาลออกมาตรการ Curfew จึงทำให้ผู้คนมีการพบปะในรูปแบบตัวต่อตัวได้ยากขึ้น ทุกวันนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มหันมาปรับใช้ตัวช่วยด้านธุรกิจหรือ Lifestyle ในรูปแบบดิจิทัลและ Chatbot มากยิ่งขึ้น และบางกลุ่มเองก็เริ่มที่จะหาเจ้า Virtual Companion ที่มีศักยภาพทางด้านความบันเทิง การศึกษา เป็นเพื่อน หรือแม้กระทั่งช่วยในการบำบัดหรือการรักษาเบื้องต้นมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างเช่น แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Samsung ได้ทำการพัฒนาปัญญาปะดิษฐ์ Samsung NEON ที่มีรูปร่างและท่าทางเหมือนกับมนุษย์จริง แตกต่างกับ Siri หรือ Alexa ตรงที่เจ้า Samsung NEON จะสามารถโต้ตอบได้เหมือนเราคุยกับบุคคลทั่วไป และยังสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อีกด้วย แต่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาและมีแพลนว่าจะออกเวอร์ชั่นจริงภายในปี 2020 นี้
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะต้องมี Virtual Companion แต่ทีมงาน UNBOX BKK มองว่าหากแบรนด์ของคุณเป็นแบรนด์ที่สะท้อนถึงความเป็นเพื่อนคู่ใจ การใช้ Virtual Companion จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจและแบรนด์ ดังนั้นการคิดย้อนกลับมาว่าตัว Virtual Companion นี้จะต้องมีบุคลิกภาพอย่างไรให้เหมาะสมกับแบรนด์ก็คงท้าทายไม่ใช่น้อย
เทรนด์ที่ 6: Mentor-To-Protege
อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแน่ๆ คือเทรนด์ของการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองในรูปแบบที่มีเมนเทอร์หรือโค้ชเพื่อเป็นที่ปรึกษา โดยเฉพาะในรูปแบบ Online เหตุผลเพราะผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน และที่สำคัญคือการที่หลายๆบริษัท Lay-off พนักงาน หรือแม้กระทั่งบางบริษัทต้องปิดตัวลง ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ยกตัวอย่างจาก UNBOX BKK เราได้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นรูปแบบ 100% Online โดยสอนผ่าน Google Hangouts ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกช่วงเวลาการเรียนได้ตามใจชอบ แต่ละคอร์สของ UNBOX BKK การันตีได้ในตัวของหลักสูตรที่ทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อีกทั้งยังสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากแพลตฟอร์มโดยตรง และยังมีบริการใหม่ล่าสุด Private Online Consultant จาก UNBOX BKK ที่ลูกค้าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing แบบสดๆตัวต่อตัว
หรืออีกตัวอย่าง เป็นการ Partner กันระหว่างแอพพลิเคชั่นสอนภาษาอย่าง Duolingo และ Twitch ที่เป็น Community Platform ที่เริ่มแรกจะเน้นเหล่า Gamer ที่มาสตรีมเกมส์และพูดคุยกันผ่านเกมส์ออนไลน์ เมื่อ 2 พาร์ทเนอร์มาร่วมมือกัน ทำให้เกิดการสอนภาษาต่างประเทศมากถึง 12 ภาษานานาชาติ โดยผู้เข้าร่วมแชทรูมนี้สามารถถามตอบได้แบบ Real Time เหมือนได้อยู่ในห้องเรียนจริง และสามารถพูดโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอนได้ด้วย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
อย่างที่ Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “Stay Hungry, Stay Foolish” นั้น หมายความว่าคนเราต้องมีความกระหายและขวนขวายความรู้ตลอดเวลา เพราะโลกเราไม่หยุดนิ่ง มีสิ่งใหม่ๆและนวัตกรรมใหม่ๆมาให้คนเราเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ถ้าคุณหยุดก็ล้าหลังกว่าคนอื่นไปแล้ว
(source: https://techcrunch.com/2019/06/17/dominos-serves-up-self-driving-pizza-delivery-pilot-in-houston/)
เทรนด์ที่ 7: A-Commerce
เทรนด์นี้เริ่มเมื่อปี 2018 แต่ก็จัดว่าใหม่สำหรับประเทศไทย ชื่อเต็มคือ Automated Commerce แปลเป็นไทยคือการซื้อ-ขายสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติ เทรนด์นี้จะมีการปรับใช้มากยิ่งขึ้นเพราะลูกค้าไม่ต้องสัมผัสหรือมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ขายที่เป็นมนุษย์แบบต่อหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไป (ใช่ไหมล่ะ!) ด้งนั้นเราจะค่อยๆสังเกตเห็นแบรนด์มีการปรับใช้ A-Commerce มากขึ้น ตัวอย่างเช่นฝั่งของอเมริกา Domino Pizza ที่มีรถส่งพิซซ่าไร้คนขับเริ่มใช้เมื่อช่วงกลางปี 2019 เมือง Houston ผู้บริโภคสามารถปลดล๊อคพิซซ่าได้จาก PIN ที่ได้รับตอนสั่งพิซซ่า สบายจริงๆ
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ อะไรที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อ นับว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าหาบริการนั้นๆมากขึ้น จริงๆแล้วตัวรถส่งพิซซ่าของ Domino นั้นก็ไม่ได้ต่างจากรถพุ่มพวงที่ประเทศไทยมี ถ้าประเทศไทยนำไอเดียนี้มาใช้โดยปรับเป็นรถที่มีคนขับแต่มี Smart Solution พ่วงท้ายบนรถ ให้ผู้บริโภคช้อปปิ้งได้โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับคนขาย ก็คงจะสะดวกสบายไม่น้อย และคงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อีกด้วย
เทรนด์ที่ 8: The Burnout
สถานการณ์ของโรคระบาด COVID-19 มีผลกระทบต่อปัจจัยหลากหลายทั้งภาคเศรษฐกิจที่ซบเซา จำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจภาคท่องเที่ยวมีการปิดตัวลง การเดินทางที่มีการคุมเข้มมากขึ้นถึงขั้นปิดชายแดนห้ามการบิน การเว้นระยะห่างทางสังคม สุขอนามัยที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดสภาวะตึงเครียดที่มีต่อสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่าการ Burnout หมดไฟในการทำงานหรือการทำกิจกรรม
ดังนั้นจึงมีธุรกิจบางรายที่เพิ่ม Option เสริมให้กับผู้บริโภค เป็นการบำบัดความตึงเครียด ตัวอย่างเช่น The Moxy Hotel ที่ New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นอกจากจะบริการห้องพักแล้วยังมี In-room Service ASMR (Autonomous Sensory Meridian Response) นั่นก็คืออาการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติในรูปแบบ VDO ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เกิดเป็นอารมณ์ที่ผ่อนคลาย โดยผู้เข้าพักสามารถเปิดรับฟังเป็นนิทานก่อนนอนเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย อีกแบรนด์ที่ทำก็คือ IKEA ที่ทำ VDO ASMR ที่มีเสียงกระซิบของผู้บรรยายและการปูผ้าปูที่นอน เน้นให้ผู้ฟังได้ยินเสียงสัมผัสของการดึงผ้าปูเตียง
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
การปรับใช้เทรนด์นี้จะต้องผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และลองผิดลองถูก แต่ก็ไม่ได้ต้องลงทุนเยอะมาก เพียงแต่เราจะต้องหาให้เจอว่าผู้บริโภคของเรานั้นมีพฤติกรรมแบบใด และธุรกิจของเราสามารถช่วยลดระดับความเครียดนั้นได้อย่างไร อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบของ ASMR เสมอไป แต่อาจเป็นการส่งต่อความผ่อนคลายถึงบ้านให้ทางผู้บริโภคก็เป็นได้
เทรนด์ที่ 9: Assisted Development
ช่วงนี้ที่ผู้คนต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น สถานการณ์บังคับให้เราต้องเรียนรู้ที่จะต้องทำงานบ้านด้วยตัวเอง บางคนถือโอกาสนี้ฝึนฝนการทำอาหาร และถึงขั้นหลังจากนี้เราอาจจะเห็นคนไปสมัครรายการ MasterChef มากขึ้นก็เป็นได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีหลายคนที่ประสบปัญหาการทำสิ่งเหล่านี้ไม่เป็น แต่พร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ในฝั่งอเมริกามีบริษัทที่ขายเครื่องใช้สำหรับการทำอาหารชื่อว่า Equal Parts ได้ให้บริการที่เรียกว่า Text-a-Chef – บริการส่งข้อความถามเชฟให้ช่วยในการทำอาหาร ให้ลูกค้าที่ซื้อหม้อหรือกระทะจากทางร้านไป
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ธุรกิจต้องมองโจทย์ในการขายสินค้าที่ไม่ใช่แค่การขาย รับเงิน และจบๆไป แต่ต้องตั้งคำถามว่าสินค้าและบริการของเราจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะอะไรในตัวลูกค้าได้บ้าง? หลังจากวิกฤตนี้ผู้บริโภคจะหันมาขอบคุณและสนับสนุนแบรนด์ที่ช่วยให้ตัวเขารอดพ้นจากสถานการณ์นี้อย่างแน่นอน นอกจากสินค้าจะช่วยให้คนอยู่รอดแล้ว ต้องคิดว่าทำอย่างไรธุรกิจและแบรนด์จะสามารถให้สินค้าและบริการเป็นสิ่ง ”จำเป็น” ในการใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้
เทรนด์ที่ 10: Virtual Status Symbols
มาถึงเทรนด์สุดท้ายซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ได้รับอิทธิพลจาก Social Media และสื่อออนไลน์ที่เราจะต้องมีไอเท็มแบรนด์เนมหรือ Gadget สุดล้ำมาโชว์ของที่เราสามารถสวมใส่หรือประดับร่างกายได้จริง และเทคโนโลยีอย่าง AR (Augmented Reality) ก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้ โดยการช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความ ”อยาก” มากยิ่งขึ้น จุดนี้เองทำให้บริษัท Startup จากอังกฤษ Drest ได้ทำการพัฒนา Application ในรูปแบบ Fashion Platform ฝังด้วยเกมส์และยกระดับการช้อปปิ้งแบบ Luxury ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกเสื้อผ้าจากแบรนด์อย่างชุดราตรีจาก Gucci และจะเลือกแมตช์กับกระเป๋าจาก Celine คอลเลคชั่นล่าสุดเพื่อประดับตัวละครในเกมส์ หลังจากนั้นหากผู้บริโภคถูกใจก็สามารถซื้อมาใส่ได้จริงเช่นกัน
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
การทำ Research เกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าที่บริโภคสินค้าและการบริการของเราเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้รู้ว่า สินค้าและบริการของเราสะท้อนสถานภาพทางสังคมระดับไหนหลังจากผู้บริโภคได้ลองใช้แล้ว เราอยากให้ผู้บริโภครู้สึกอย่างไรทั้งในโลกจริงและโลก Online เมื่อใช้สินค้าและการบริการของเรา และแบรนด์เรานั้นจะช่วยยกระดับกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานจริงได้อย่างไรในโลกเสมือนจริง
ทั้งหมดนั้นคือทั้ง 10 เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้ว และทีมงาน UNBOX BKK คาดการณ์ว่าเทรนด์เหล่านี้จะกลายเป็น New Normal เป็นความสนุกความท้าทายใหม่ให้กับนักการตลาดดิทิจัลได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจต่างๆ และที่สำคัญทุกเทรนด์ไม่ได้เหมาะสมกับทุกธุรกิจเสมอไป เทรนด์เหล่านี้รับบทเป็น Guideline สำหรับการวางกลยุทธ์ให้เหมาะกับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าของเรา จะร่วงหรือจะปังก็ขึ้นอยู่กับการปรับใช้นะคะ 😊
ที่มา