พร้อมกันหรือยังกับ Offline Activation

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อ และทำให้แบรนด์ต่างๆ อาจไม่สามารถจัดงาน Offline ได้ตามกฎหมาย แต่เนื่องด้วยสถานการณ์และกฎระเบียบที่เริ่มผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤศจิกายนนั้น เราจะเริ่มเห็นแบรนด์เริ่มกลับมาจัดกิจกรรมตามห้าง ทั้งอีเวนต์เพื่อการขาย การแสดงสินค้า การประชุม สัมมนา หรือหากสังเกตคนใกล้ตัวเราก็พบว่ามีหลายคู่ที่ได้โอกาสจัดงานแต่งงานในช่วงนี้ แต่ผู้บริโภคหรือแม้แต่ตัวเราเองมั่นใจจริงหรือเปล่า ว่าการเข้าร่วมงานนั้นจะปลอดภัย และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทุกอย่างได้อย่างสบายใจตามปกติ

ดังนั้นแล้วในการจัด Offline Activation หรือกิจกรรม On Ground ต่างๆ จึงต้องมีมาตรการหรือการวางแผนงานที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย และที่สำคัญที่สุด สตาฟต้องรู้สึกสบายใจในการดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง เพราะคนที่ต้องเจอกับลูกค้าของเราเป็นจำนวนมากที่สุดก็คือสตาฟของเราเอง

ดังนั้นวันนี้ UNBOX จึงได้รวบรวม Tips เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้แบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มอยากลุย Offline Activation ได้สร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้บริโภคและสตาฟมากยิ่งขึ้นค่ะ

ยึดตามมาตรการมาเป็นอันดับ 1
ก่อนจัดงานลองอัพเดตประกาศของทางรัฐบาลกันสักหน่อยว่าในการจัดงานตอนนี้นั้นรวมตัวกันได้สูงสุดกี่คน หากเป็นไปตามมาตรการแล้ว ลองตรวจสอบว่าพื้นที่การจัดงานของเรานั้นได้ทำตามกฏระเบียบมาตรฐานของการจัดงานหรือไม่ หรืออาจอ้างอิงกับ Standard ที่มีหน่วยงานรองรับ เช่นโรงแรมที่เราจัดงานนั้นได้รับมาตรฐาน SHA หรือ SHA Plus ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) หรือลองเช็คกับเซลล์พื้นที่ว่าสถานที่ที่เราจะไปจัดงานนั้นได้รับอนุญาตจัดงานในระดับไหน มากน้อยเพียงใดค่ะ

Hybrid ยังเป็นทางเลือกที่ดี
การจัดงานแบบ Hybrid แปลว่าการจัดงานที่มีทั้งผู้ชมส่วนออฟไลน์และออนไลน์คู่ขนานกัน ซึ่งในปัจจุบันการประชุมในเดือนตุลาคม 2564 หลายการประชุมก็ได้ปรับเข้าสู่วิถีแบบ New normal นี้ จึงทำให้ผู้ชมที่หน้างานนั้นไม่แออัดมากเกินไป แต่ถึงอย่างไรก็ตามการจัดงาบแบบ Hybrid ที่สามารถดูแลประสบการณ์ผู้เข้าชมทั้งออฟไลน์และออฟไลน์ให้รู้สึกดี และมีเทคนิคที่ไหลลื่นสำหรับทั้ง 2 ฝั่งนั้น ยังต้องใช้เทคโนโลยีที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และผู้ดำเนินรายการที่มีความสามารถในการดำเนินรายการ ให้ความสนใจกับผู้ชมทั้ง 2 ฝั่ง ได้อย่างเท่าเทียม

หลีกเลี่ยงการเกิดภาพคนแออัด
หากจำเป็นต้องจัดงานแบบออฟไลน์จริงๆ ในสถานการณ์ที่ยังไม่ปกติ พยายามหลีกเลี่ยงการจัดงานที่เสี่ยงต่อความแออัดของผู้เข้าร่วมงาน เช่นในกรณีการเชิญศิลปินดังมาในงาน อาจจะต้องจำกัดพื้นที่คนเข้า หรือจัดแบ่งเก้าอี้ให้เป็นสัดส่วนสำหรับผู้เข้าร่วมงาน เพราะถ้าเกิดภาพการเบียดเสียดแออัดออกไป ย่อมไม่เป็นผลดีต่อแบรนด์ของเราแน่นอนค่ะ

ารสัมผัสแบบปลอดภัย
ตอนนี้เชื่อว่าหลายแบรนด์คงปรับเปลี่ยนวิธีการแจก Product Sampling ที่ลดการสัมผัส เช่นแจกเป็นชิ้นต่อชิ้นมากขึ้น งดการลองหรือสวมใส่ผลิตภัณฑ์บางประเภท ซึ่งต้องยอมรับว่าบางครั้งความปลอดภัยในช่วงนี้นั้นอาจแลกมาด้วยการสร้างขยะบรรจุภัณฑ์หรือพลาสติกที่เยอะขึ้น ดังนั้นหากแบรนด์ใดที่สามารถหาจุดร่วมระหว่างความปลอดภัย และการสร้างขยะที่ไม่มากเกินความจำเป็น ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในระยะยาวนะคะ

รอก่อนยังพอไหว หรือเริ่มจากเล็กๆ ก่อน
แต่เมื่อสถานการณ์ยังไม่เป็นปกติ 100% ดังนั้นแล้วหากแบรนด์ใดที่ยังรู้สึกว่ายังพอรอได้ หรือการลง On Ground ยังไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น อาจทุ่มไปที่การตลาดส่วนออนไลน์ก่อน หรืออาจจะเริ่มต้นที่การจัดจุด On Ground เล็กๆ เน้นคนเข้ามาเรื่อยๆ ไม่เน้นงานใหญ่มาก แล้วค่อยดูท่าทีขยับขยายกันไปก็ได้ค่ะ

ทั้งนี้ มีหลายคนที่ถามเข้ามาว่าเมื่อสถานการณ์เป็นปกติแล้ว Online Event จะหายไปหรือไม่ จากการพูดคุยกับแบรนด์และทีมงานในวงการที่เกี่ยวข้อง แทบทุกคนลงความเห็นว่าต่อจากนี้ไป งาน Offline และ Online Event นั้นจะดำเนินการไปควบคู่กัน เพราะทางแบรนด์เองก็ยอมรับว่าช่องทางออนไลน์นั้นได้จำนวนผู้รับชมในปริมาณที่มากกว่า และเข้าถึงได้ง่ายดายกว่า ในขณะที่การจัดงานแบบออฟไลน์นั้นก็ยังให้ประสบการณ์ผลิตภัณฑ์จริงที่ Digital ไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ 100% ดังนั้นแล้วการที่แบรนด์จะลองทำทั้ง 2 อย่างขนานกันไป แต่ปรับน้ำหนักให้มากน้อยแล้วแต่ช่วงเวลา และรูปแบบของแคมเปญ น่าจะเป็นการปรับตัวที่ดีที่สุดค่ะ

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Karn Triamsiriworakul

Global Shopping Festival วันช้อปปิ้งของทุกเดือน

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีกระแสพูดถึงวันคนโสด (วันที่ 11 เดือน 11) กันมาก แต่ไม่ใช่แค่เพราะมันเป็นวันประกาศความโสดหรือช่วงจัดปาร์ตี้ให้คนโสดได้มาพบกัน แต่เพราะมันเป็น #วันช้อปปิ้ง

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

Mood Tone และ Branding

Mood & Tone เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Branding เพราะแบรนด์ไม่ใช่คน ไม่ได้มีรูปพรรณสัณฐาน จึงต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการสร้างแบรนด์ให้มีจุดเด่น หรือเกิด Character

Read More »
blog
Nisara Sittatikarnvech

เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว! ‘AI’ กับบทบาทผู้ช่วยยืนหนึ่งของการนักการตลาด

“ถ้าคุณชอบสินค้าชิ้นนี้ คุณอาจสนใจสิ่งนี้” ในฐานะผู้บริโภค คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่เรากำลังเพลิดเพลินกับการชอปปิ้งกันบนแพลตฟอร์มของ E-Commerce แบรนด์ต่างๆ ระบบช่างรู้ใจเราเสียจริง ทั้งแนะนำไอเทมที่ตรงใจ หรือบางทีแค่พูดลอย ๆ

Read More »
Comodo SSL