[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ custom_margin=”0px||||false|false” custom_padding=”0px||||false|false”][et_pb_row _builder_version=”3.25″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.25″ custom_padding=”|||” custom_padding__hover=”|||”][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][addthis tool=”addthis_inline_share_toolbox”]
[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.4.6″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” header_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font_size=”28px” header_3_font=”Thai Regular||||||||” header_3_font_size=”26px” header_4_font=”Thai Regular||||||||” header_4_font_size=”24px” header_5_font=”Thai Regular||||||||” header_5_font_size=”21px” header_6_font=”Thai Regular||||||||” header_6_font_size=”18px” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”]
เชื่อว่าหลายคนไม่ชอบเทคนิคการโฆษณาแบบ Product Placement หรือที่คนไทยคุ้นเคยว่าเป็นการ “Tie-in สินค้า” ในละคร
บ้างก็ว่ามันทำให้ละครสนุกน้อยลง แต่ถึงกระนั้นก็คงจะว่าอะไรไม่ได้ ถ้ามันเป็นเทคนิคการโฆษณาที่ได้ผล! ตัวอย่างง่าย ๆ ก็ได้แก่ร้านอาหาร Subway ในประเทศเกาหลีใต้ที่มียอดขายสูงขึ้น 10% ในช่วงที่ซีรี่ส์ที่พวกเขาไป Tie-in ด้วยกำลังออนแอร์
(ภาพประกอบจาก KBS และ TVN)
ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เสื้อผ้า อาหาร อีกหลายแบรนด์ที่ทำ Product Placement แล้วได้ผล เพราะคนอยากจะดูดีเหมือนตัวละครในเรื่อง หรืออยากจะกินอาหารตามที่ตัวละครกิน ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้หลายชิ้นจึงขายดีจนถึงขั้นขาดตลาดเมื่อทำ Product Placement อย่างถูกต้องกับละครที่เป็นที่นิยม
(ภาพประกอบจาก JTBC และ SBS)
Product Placement ในซีรี่ส์เกาหลีใต้ ไม่ใช่แค่โฆษณาต่อชาวเกาหลี แต่โฆษณาไปถึงคนทั้งโลก
ในยุคที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้คนบนรถโดยสารหรือแม้แต่พนักงานตามเคาน์เตอร์ขายสินค้าก็นั่งดูซีรี่ส์ได้ ไม่จำกัดว่าต้องดูจากโทรทัศน์เท่านั้น เพียงแค่ใช้แอปพลิเคชั่น หรือเข้าเว็ปไซต์ก็ดูได้ทันที ซึ่งในยุคนี้ซีรี่ส์ที่กินส่วนแบ่งในตลาดกับซีรี่ส์จากตะวันตกได้ ก็คงไม่พ้นซีรี่ส์จากประเทศเกาหลีใต้
นักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้ความเห็นว่าสาเหตุที่ซีรี่ส์ของประเทศเกาหลีใต้เป็นที่นิยมกัน เนื่องมาจากซีรี่ส์ของพวกเขามักส่งเสริมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และภายในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเราต้องการจะมีในชีวิต สอนเรื่องคุณธรรมเป็นการให้ความหวังและการเรียนรู้แก่ผู้ชม รวมถึงนำเสนอวัฒนธรรมในเรื่องโดยผสมผสานวัฒนธรรมแนวอนุรักษนิยมและสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ถูกใจของประชาชนวัยรุ่นถึงผู้ใหญ่ที่เติบโตมาท่ามกลางวัฒนธรรมดั้งเดิมผสมกับการปฏิวัติทางเทคโนโลยี
ความฮิตของละครเกาหลีใต้ แม้แต่คนที่ไม่ได้ติดตามวงการเกาหลีก็ยังสัมผัสได้ถึงกระแสบันเทิงแดนกิมจิที่เข้ามาในประเทศไทย ชื่อซีรี่ส์ดังที่เป็นที่พูดถึงกันทั่วฟ้าเมืองไทย ทั้งออนไลน์และในสถานที่ทำงาน ตั้งแต่ แดจังกึม, Full House, My Love from the Star ไปจนถึงสหายผู้กอง Crash Landing on You และล่าสุด A World of Married Couple (พฤษภาคม 2020) ซึ่งกระแสความนิยมนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ แต่กระจายไปทั่วโลกถึงทุกคนที่เลือกเข้ารับชมซีรี่ส์เกาหลีใต้ ก็ย่อมได้รับโฆษณาภายในซีรี่ส์ไปด้วยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี
จากสถิติปี 2018 อุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ของเกาหลีใต้สร้างรายรับมากกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท (เติบโตสูงถึงร้อยละ 241 จากปี 2015) ในปี 2020 นี้ รัฐบาลเกาหลีใต้คิดว่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมความบันเทิงเชิงภาพยนตร์ในปีนี้สูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท เพื่อกระจายภาพยนตร์และโทรทัศน์ของพวกเขาไปทั่วโลก จึงน่าเชื่อว่าปริมาณของผู้ที่จะได้รับชมโฆษณาจากการทำ Product Placement ทั่วโลกก็น่าจะสูงขึ้นตามไปด้วย
Product Placement มีข้อดีอย่างไร?
ข้อดีที่เกิดขึ้น เกิดทั้งแก่แบรนด์ที่ทำโฆษณาในภาพยนตร์และตัวภาพยนตร์เอง เนื่องจากเมื่อผู้ชมได้เห็นผลิตภัณฑ์จากชีวิตจริงอยู่ในภาพยนตร์ก็ยิ่งทำให้พวกเขาเชื่อว่าภาพยนตร์นั้นมีความสมจริงมากขึ้น อินได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนแบรนด์ที่ทำโฆษณาก็ได้แทรกตัวตนของแบรนด์เข้าไปในความทรงจำของผู้รับชมด้วย เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ผู้คนได้รับโฆษณาไปโดยไม่รู้ตัว นอกเหนือจากการโฆษณาตัวเต็มบน TVC หรือแบนเนอร์โฆษณาที่โผ่งผ่างจนบางครั้งคนอาจจะไม่สนใจ
รวมไปถึงภาพยนตร์ที่มีความอบอุ่น ทำให้ผู้รับชมรู้สึกดี ก็มักจะทำให้ผู้รับชมรู้สึกดีต่อสิ่งผลิตภัณฑ์หรือสถานที่ในโลกของละครไปด้วย อย่างที่เห็นกันว่ามีจัดทัวร์ไปตามรอยละคร เพราะผู้คนได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ ในละครแล้วเกิดความอบอุ่นใจ จึงอยากจะเดินทางไป หรืออยากกิน อยากสัมผัสสิ่งที่ปรากฏอยู่ในละคร
ข้อควรระวังของการทำ Product Placement
ข้อเสียที่ชัดเจนของการทำ Product Placement ก็คือการแสดงแบรนด์ที่โจ่งแจ้งหรือมาบ่อยจนเกินไป อย่าลืมว่าคนดูต้องการดูละคร ดูเนื้อเรื่อง ดูตัวละครกุ๊กกิ๊กกัน ไม่ได้อยากดูโฆษณา การทำ Product Placement จึงต้องทำอย่างแนบเนียน ถ้าโจ่งแจ้งมากเกินไปจะดึงคนดูออกจากเนื้อเรื่องที่กำลังติดตามรับชมอยู่ได้ เมื่อพวกเขาหลุดออกจากละคร ก็ย่อมเสียอรรถรสในการรับชมไป อย่างที่เรียกกันว่า หมดมู้ด หรือกลายเป็นว่าดูแล้วไม่ฟิน หมดความอินกับเนื้อเรื่องจนอยากจะเลิกดูละครเรื่องนั้นไปเลย
ถ้าซีรี่ส์พังก็แน่นอนว่าโฆษณาในซีรี่ส์นั้นก็จะลงเหวไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้งที่ไม่ดี โฆษณาไม่ถูกรับชมเท่าที่ควร ไปจนถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบอีกต่างหาก เช่น “หนังไม่สนุกก็เลยต้องเน้นขายของสินะ” แม้แต่ภาพยนตร์ที่ทำให้คนติดตามเนื้อเรื่องมาได้ตลอด ถ้าทำ Product Placement พลาด ก็อาจทำให้คนดูหมดอารมณ์และเลิกชอบภาพยนตร์เรื่องนั้นไปเลย
ซีรี่ส์เกาหลีใต้ The King: Eternal Monarch ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากการแทรกขายมากเกินไป โฆษณาอย่างโจ่งแจ้งไม่ว่าการตัดภาพจากเนื้อเรื่องมาที่แบรนด์แบบฉับพลัน การที่ตัวละครใช้หรือพูดถึงผลิตภัณฑ์อย่างไม่มีเหตุมีผล จนผู้ชมหลุดจากเนื้อเรื่องที่ติดตามรับชมอยู่
(ภาพประกอบจาก SBS)
อย่างไรก็ดีองค์กร YMCA’s Viewer Rights Movement Center ศูนย์พิทักษ์สิทธิของผู้รับชมในประเทศเกาหลีใต้ ประเมินไว้ว่าในละครเกาหลีใต้ 1 ตอน มีการทำ Product Placement โดยเฉลี่ยถึงตอนละ 57 ครั้งด้วยกัน และมีละครเรื่องหนึ่งใส่ไว้มากถึง 113 ครั้ง หมายความว่าก็ยังมีละครของเกาหลีใต้จำนวนมากที่ทำ Product Placement ได้ดี จึงไม่มีเกิดปัญหาให้คนดูออกมาต่อว่าละครและแบรนด์ที่โฆษณากัน
ข้อแนะนำในการทำ Product Placement
เพียงแค่วางผลิตภัณฑ์อย่างกลมกลืนไปกับฉาก หรือมีตัวละครในเรื่องส่งผลิตภัณฑ์ให้กันโดยไม่ขัดกับฉากหรือเนื้อเรื่อง ก็เป็นการทำ Product Placement แล้ว แต่ถ้าอยากจะทำมากกว่านั้น ลองดูตัวอย่างของแบรนด์นาฬิกาข้อมือ Breitling จากเรื่อง Memories of the Alhambra ที่นาฬิกาปรากฏในหลายฉากแต่ไม่รบกวนเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ในซีนสำคัญของเรื่องที่ผู้ชมจะจดจำได้และการมีพูดถึงสูง ยังมีการใช้นาฬิกาในการแก้ปัญหาอย่างกลมกลืนไปกับกลิ่นอายแฟนตาซีของละครอีกด้วย
(ภาพจาก Netflix)
เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการทำ Product Placement ที่พวกเราชาว UNBOX BKK เก็บมาฝากทุกคน สามารถติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับการโฆษณาและการตลาดได้จากบล็อกต่อ ๆ ไปของพวกเรานะครับ
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ top_divider_color=”rgba(34,64,154,0.31)” top_divider_flip=”horizontal” border_width_top=”2px” border_color_top=”#22409a” border_width_bottom=”2px” border_color_bottom=”#22409a”][et_pb_row column_structure=”2_5,3_5″ _builder_version=”4.3.3″ custom_padding=”0px||0px||false|false”][et_pb_column type=”2_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/05/karn.png” alt=”Karn” title_text=”topic-product-placement-kdrama” align=”center” _builder_version=”4.4.6″ width=”60%”][/et_pb_image][/et_pb_column][et_pb_column type=”3_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”10px||||false|false”]
Contributor
[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.4.6″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”0px||||false|false”]
Karn Triamsiriworakul
Learned about reasoning from the school of law but landed job in marketing field to work toward his interest in art and psychology.
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]