จากเรื่องดราม่าของ YouTuber สาวสวยจากรายการ Single’s Inferno ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีการใช้สินค้าไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ “แบรนด์เนมปลอม” ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ออกอากาศรายการ และลงรูปใน Social จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมเกาหลีใต้ จนกระทั่งเจ้าตัวถึงกับต้องปิดเพจ ลบรูปหนีไปนั้น เรามาลองวิเคราะห์ดูบทเรียนจากพลังของ Consumers ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กันดูบ้าง
1. เสียงที่ใหญ่ที่สุดเป็นของ Consumer เสมอ
ถึงแม้จะมีบ้างที่แสดงความเห็นใจ สงสาร แต่เสียงส่วนมากคือการวิพากษ์ วิจารณ์ ไม่สนับสนุน ไปจนถึงตามจับผิด เรียกได้ว่าไม่ให้ผุดไม่ให้เกิดกันเลยทีเดียว นี่เป็นความจริงที่สำคัญมากสำหรับแบรนด์และ Influencer ที่ต้องการจะเติบโต โดยต้องจำไว้เสมอว่า สุดท้ายแล้วผู้ที่จะเป็นคนตัดสินใจสนับสนุนหรืออุดหนุนแบรนด์ของเราก็ไม่พ้นผู้บริโภคอยู่ดี
2. เราอยู่ในโลกที่สังคมระบบทุนนิยม และวัตถุนิยมเป็นใหญ่
คนให้ความสนใจกับ Social Media และภาพลักษณ์มากๆ ตัวอย่างใกล้ตัวง่ายๆ คือการที่คนทั่วไปถ่ายภาพและแชร์ภาพลง Social อวดกัน ไม่ว่าจะเป็นของที่ใช้ กิจกรรมที่ทำ หรือสถานที่ที่ไป ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดของการทำการตลาดในยุคนี้คือ คาเฟ่ที่มีคนไปคือคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปให้ลง Social Media ได้ ร้านอาหารหรือรีสอร์ทต่อให้อยู่ไกลแค่ไหน เข้าตรอกซอกซอยลึกลับเพียงใด ขอแค่เข้าคอนเซปต์ “วิวหลักล้าน” หรือ “มีมุมมหาชน” เป็นอันว่ามีคนไปแน่นอน
3. Art & Design Appreciation ได้รับความสำคัญมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน สิ่งที่เจริญเคียงคู่ไปกับทุนนิยมก็คือความชื่นชมหรือ Appreciate ในคุณค่าของงานศิลปะ งานฝีมือ ที่มีมากขึ้นด้วย นั่นทำให้ผู้คนต่างเข้าใจและให้คุณค่ากับสินค้าที่ถูกคิดค้นขึ้นมาด้วยความพยายามของ Designers
ในทางการตลาดเองก็มีตัวอย่างของการให้คุณค่าเช่นนี้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากแบรนด์ต่างๆ มีการนำ Process ของการคิดค้น และผลิตสินค้า ตลอดไปจนถึงภาพร่างดีไซน์มาเปิดเผยต่อกลุ่มลูกค้า สร้างเป็น Story ที่มาของคอลเล็คชั่น หรือสินค้าของตัวเอง ซึ่ง Content เหล่านี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าและตัวแบรนด์นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าแบรนด์ Rotsaniyom คอลเล็คชั่น Spring/Summer 2019 มีแรงบันดาลใจมาจากความหมายของการมีกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก ครอบครัว หรือความสัมพันธ์ในแบบอื่น
4. Originality คือสิ่งสำคัญ
Originality หรือ Genuineness หรือความจริงใจในการนำเสนอผลงาน คือสิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองหาทั้งจากแบรนด์ และ Influencers นั่นหมายความว่าถึงแม้เราจะอยู่ในโลกวัตถุนิยม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแบรนด์ใหญ่ แบรนด์ดัง จะปังอยู่ฝ่ายเดียว แบรนด์เล็กที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสไตล์และคิดค้นเอกลักษณ์ของตัวเองมามอบให้กับสังคมได้ ก็มีที่ยืน และโอกาสเติบโตเช่นกัน
สำหรับ Influencers เองก็เช่นกัน การเป็นคนดังนั้นไม่จำกัดว่าจะต้องหน้าตาดีอีกต่อไป แต่ขอให้มีเอกลักษณ์ และสร้างคุณค่าให้ตัวเองได้ตรงกับสิ่งที่กลุ่มลูกค้าของเรามองหาก็พอ ตัวอย่างเช่น Food Bloggers ชื่อดังหลายๆท่านเป็นคนที่ถ่ายรูปอาหารสวยมาก หรือทำอาหารได้น่าทาน นำเสนอออกมาได้ดี มียอด Engagement ถล่มทลาย พวกเขาเหล่านี้ไม่เคยเปิดเผยหน้าตา และผู้ติดตาม (Followers) ก็ไม่ได้แคร์ด้วยเนื่องจากสนใจแค่ Content ที่จริงใจเท่านั้น 😊