(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Chris Gregory เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ Marketing Land วันที่ 24 มกราคม 2020)
ใช้ประโยชน์จาก SEO ที่คุณมีด้วยการวิเคราะห์ว่าคำค้นหา (Search Queries) ประเภทใดสามารถสร้างการแสดงผล (Impressions) และจำนวนคลิกได้ดี
ครึ่งปีผ่านไปแล้ว และนี่คือช่วงที่เหมาะสำหรับการสร้างกลยุทธ์ใหม่สำหรับ Content เพื่อธุรกิจของคุณ รู้หรือเปล่าว่าหนึ่งในกลยุทธ์ในการสร้าง Traffic ที่ง่ายที่สุดและมักถูกมองข้ามนั้นคือ การอัพเดตและขยายเนื้อหาเดิมที่มีอยู่แล้ว
ประโยชน์ของการอัพเกรด Content เดิม
Content นั้นต่างจากไวน์ที่ยิ่งนานยิ่งรสชาติดี เพราะ Content มักมีอายุ จึงสามารถเสื่อมคุณค่าไปตามกาลเวลา แต่รู้ไหมว่าธุรกิจของคุณไม่จำเป็นต้องสร้าง Content ใหม่อยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ Content ที่มีอยู่นั้นมีเนื้อหาที่ดีและสามารถนำมาปรับเพิ่มความสดใหม่เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลลัพธ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
การอัพเกรด Content ในเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้วนั้น สามารถให้ประโยชน์ดังนี้:
1. เพิ่มประสบการณ์การที่ดียิ่งขึ้น: ลองนึกภาพว่าผู้อ่านเข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรสักอย่างผ่านคอนเทนท์ของคุณ แต่ถ้าคอนเทนท์ที่คุณมีนั้นเก่าไปแล้ว คอนเทนท์นั้นก็ถือว่าไม่มีประโยชน์กับเขาอีกต่อไป การทำให้แน่ใจว่าคอนเทนท์ที่คุณมีนั้นตรงตามสถานการณ์ปัจจุบันและมีเนื้อหาที่ถูกต้องจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้อ่านได้
2. รักษาสิทธิ์ของ URL: ทุกครั้งที่มีการสร้างหน้าใหม่บนเว็บไซต์ URL ใหม่ที่ถูกสร้างนั้นถือว่ามีสิทธิ์เป็นศูนย์ ต่างจาก URL ที่มี Content เดิมอยู่แล้วเพราะถือว่ามีสิทธิ์จากอายุ Content หรืออาจจะเป็น Link อื่นๆ ที่เคยได้รับการอ้างอิงมา
3. สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับ Keyword ใหม่หรือจะเพิ่ม Keyword ก็ยังได้: ดังที่เห็นจากภาพประกอบด้างล่าง ประโยชน์หลักๆจากการเช็คข้อมูลที่มีอยู่แล้ว คือสามารถเช็คว่าคำค้นหา (Search Queries) ประเภทใดที่มีผลต่อการแสดงผล (Impressions) และการคลิก Keyword ดีๆ บางคำมีอัตราการคลิกต่ำมาก ซึ่งทางแก้คือ เพิ่ม Keywords หรือคำที่เกี่ยวข้อง
วิธีเลือกคอนเทนท์เพื่ออัพเกรด
ขั้นตอนที่ 1: ไปที่ Google Analytics และเลือก Behavior > Site Content > All Pages
ก่อนอื่นเจ้าของเว็บไซต์ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าคุณแบ่งข้อมูล (Data Segment) ตาม Organic Traffic เพื่อที่คุณจะได้เห็นข้อมูลหน้าที่ผู้ใช้งาน (Organic Users) เข้าชมมากที่สุด คุณสามารถที่จะบันทึกรายละเอียด 10-15 หน้าที่มีอันดับการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณแบบ organic traffic สูงสุด โดยการ export ข้อมูลดังกล่าวนี้ผ่านทาง GA หรือจะคัดลอกแล้วมาแปะไว้ใน google sheet ก็ยังได้ค่ะ
หมายเหตุ: Google จะไม่แสดงฐานของ URL ซึ่งไม่เป็นปัญหาสำหรับขั้นตอนถัดไป
ขั้นตอนที่ 2: จากนั้นคุณสามารถใช้ Google Search Console Data เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีอัพเดทเนื้อหา
ใน Search Console ไปที่ Performance Report ในตัวเลือกด้านซ้าย จากนั้นเลือกช่วงวันที่ที่ต้องการ แล้วกดคลิกที่ปุ่ม + NEW เพื่อแบ่งกลุ่มข้อมูล (Data Segment) ตามหน้า URL ซึ่งแนะนำให้เลือก Filter แบบ “URLs is exactly” จากนั้นให้ทำการคัดลอกและวาง URL จากลิสต์ที่คุณมี
เมื่อใส่ URL เรียบร้อยแล้ว จะเห็นคำต่างๆที่ผู้ใช้งานเคยใช้เพื่อค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณ
ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้บทความเรื่อง “Chrome ขึ้นแจ้งเตือนว่าเว็บไซต์ไม่ปลอดภัย” นั้นถูกเขียนขึ้นมาเพื่อครอบคลุมเนื้อหาสำหรับผู้ที่คิดว่าเว็บไซต์ของตัวเองนั้นไม่ปลอดภัย แต่ Google มีการตรวจพบว่ามีการใช้ Keywords ในการค้นหา “วิธีการทำให้เว็บไซต์ปลอดภัย” จำนวนมาก ดังนั้น ข้อคิดที่ได้จากกรณีนี้คือ ธุรกิจต่างๆควรหารูปแบบการค้นหาที่คล้ายกันกับสิ่งที่บทความเดิมไม่ได้ครอบคลุมหรือไม่ได้เจาะลึก เพื่อที่จะได้ทำการ Upgrade ส่วนๆ นั้นของบทความให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้นหาได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ทำเว็บไซต์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ารูปแบบการค้นหาที่เลือกนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกิจคุณและบทความเดิม ซึ่งในเคสนี้สามารถดูได้จากจำนวน Traffic ที่เพิ่มขึ้นจนถึงช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ Google มี Core Update เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายความเกี่ยวข้อง (Targeted Relevance) โดยจะเห็นได้ว่า จุดประสงค์หลักของบทความเดิมนั้นเกี่ยวกับ “Chrome ขึ้นแจ้งเตือนว่าเว็บไซต์ไม่ปลอดภัย” มากกว่าวิธีทำให้เว็บไซต์มีความปลอดภัย
หากเราทำตามกลยุทธ์เดียวกันนี้ เราจะสามารถรวบรวม Traffic ที่เสียไปด้วยวิธีที่สอดคล้องกันมากขึ้น
กลยุทธ์อื่นๆ ที่สามารถใช้อัพเกรดเนื้อหาได้
- แก้ไขลิงค์ที่เสีย: กลยุทธ์นี้มีผลต่อทั้งประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ หรือ UX และ SEO ของเว็บไซต์ หากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่มี Link จำนวนมาก หรือ Link ผูกกับสถานการณ์ในช่วงเวลาหนึ่ง คุณควรจะตรวจสอบสม่ำเสมอว่า Link ที่ใช้นั้นยังมีอยู่หรือไม่ เพราะอาจมีผลต่อ SEO ได้ และอย่าลืมกดแชร์เนื้อหาอีกครั้งหลังทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาแล้วด้วยนะคะ
- เพิ่มรูปภาพหรือคลิป: รูปภาพและคลิปก็มีวันหมดอายุได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ทำเว็บไซต์ต้องหมั่นตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสื่อต่างๆ ที่คุณใส่ใน Content นั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นอยู่ ซึ่งอีกวิธีหนึ่งในการ Update เนื้อหาคือการเพิ่มสื่อใหม่ โดยเฉพาะการใส่คลิป เห็นได้ชัดว่าปัจจุบันนี้ใครๆ ก็เริ่มคนสนใจ Content ที่มีคลิปมากขึ้น ดังนั้นหากทำได้ แบรนด์ควรสร้างหรือเพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคลิปจาก YouTube ลงในโพสต์
- เพิ่มหรือเปลี่ยน Call-to-Action เพื่อเพิ่ม Conversion: จุดประสงค์ในการทำ Content คือการเปลี่ยนผู้อ่านให้กลายมาเป็นลูกค้าในรูปแบบใดแบบหนึ่ง ดังนั้นการทดลองปรับเปลี่ยน Calls-to-Action และหัวข้อต่างๆ ในContent นั้นสามารถช่วยเพิ่มจำนวน Conversion ได้เช่นกัน
ควรอัพเดทเนื้อหาบ่อยแค่ไหน?
คำถามนี้คงไม่มีคำตอบตายตัว เพราะเราไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้ว่า Content ต่างๆ ควรมีความถี่ในการอัพเดตแค่ไหน และในความเป็นจริงแล้ว เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับตัวเว็บไซต์และธรรมชาติของแต่ละธุรกิจด้วย
หากธุรกิจหรือแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มทำ Content Marketing ก็ไม่จำเป็นต้องโฟกัสเรื่องการปรับปรุงเนื้อหาเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน แต่ถ้าหากธุรกิจของคุณมี Blog หรือเว็บไซต์ที่มี Traffic อยู่แล้ว ก็ควรจะทำการรีวิวข้อมูลต่างๆ ทุก 6 เดือน เพื่อพิจารณาว่าเนื้อหาในส่วนใดบ้างที่ทำงานได้ดีหรือสามารถพัฒนาได้ดียิ่งกว่านี้ถ้ามีการทำ Update สักหน่อย อย่างไรก็ตาม ถ้าธุรกิจของคุณนั้นอยู่ในวงการที่เป็นที่สนใจและกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็ควรจะ Update Content ถี่ขึ้นมาหน่อย เพื่อที่จะได้เกาะติดกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากคุณมีผู้เข้าชมมากกว่า 10,000 คนต่อเดือน ก็ควรจะอัพเดตเนื้อหาทุกไตรมาสไปเลย
สรุป
ถ้าธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณกำลังมองหาวิธีเพิ่มอันดับเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนๆ คุณควรจะพัฒนา SEO ที่มีอยู่และเพิ่มประโยชน์ของข้อมูลที่ให้กับผู้อ่านด้วยการปรับปรุงเนื้อหาเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก SEO ที่คุณมีอยู่แล้ว แถมยังช่วยลดความจำเป็นในการเพิ่ม Content ใหม่ๆ ที่อาจจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการสร้าง แล้วก็อย่าลืมว่าเมื่อคุณ Update Content แล้วก็ควรจะแชร์และโปรโมทมันอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่คุณทำกับ Content ใหม่ๆ นะคะ
Reference:
https://marketingland.com/systematically-upgrade-your-existing-content-heres-how-and-when-to-do-it-274928
Contributor
Pol.Lt.Pichapen Sorum, Ph.D.
Pichapen is specialized in fields ranging from Public Policy to Content Marketing and Social Media Advertising. She’s experienced in working with both Government entities, and Start-Ups through the last decade. She’s also worked in translation, transcreation & copywriting for over 15 years and was positioned as a magazine editor for an online magazine before moving to FinTech. Pichapen is now working as a marketing manager for a Singaporean Start-Up, based in Thailand.